แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • แก้วใจ มาลีลัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จินดา คำแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วันเพ็ญ สมหอม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นัจรินทร์ ผิวผ่อง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กิ่งแก้ว มาพงษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรค COVID-19, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

   โรค COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกเนื่องจากมีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีของการเกิดโรค การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม เก็บข้อมูลแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.41 อายุเฉลี่ย 20.17 ปี เรียนสาขาวิชาทันตสาธารณสุข ร้อยละ 34.75 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 97.46 ได้รับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนจำนวน 4,973.98 บาท ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ร้อยละ 100 ส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนจำนวน 3 เข็ม ร้อยละ 50.42 ภาพรวมนักศึกษามีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ อยู่ในระดับสูง ( =4.23, S.D.=0.88) ส่วนใหญ่มีการรับรู้ความรุนแรงของโรค COVID-19 ระดับสูง ร้อยละ 94.07 การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค COVID-19 ระดับสูง ร้อยละ 93.64 การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค COVID-19 ระดับสูง ร้อยละ 93.22 และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค COVID-19 ระดับสูง ร้อยละ 68.22 ตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาส่งเสริมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ดีในการเพื่อป้องกันโรคของนักศึกษา ช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 ในสถานศึกษาต่อไป

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. [cited 2023 May 2].

Available from: https://www.who.int/europe/emergencies/situations/covid-19

Ge, H., Wang, X., Yuan, X., Xiao, G., Wang, C., Deng, T., et al. The epidemiology and clinical information about COVID-19. European journal of clinical microbiology & infectious diseases: official publication of the European Society of Clinical Microbiology. 39(6): 1011–1019; 2020.

Kim, S., & Kim, S. Analysis of the impact of health beliefs and resource factors on preventive behaviors against the COVID-19 pandemic. International journal of environmental research and public health. 17(22): 8666; 2020.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ภายในประเทศ. [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main

Aristovnik, A., Keržič, D., Ravšelj, D., Tomaževič, N., & Umek, L. Impacts of the COVID-19 pandemic on life of higher education students: A global perspective. Sustainability. 12(20); 8438; 2020.

แก้วใจ มาลีลัย ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์ สาวิตรี สุมาโท และศตายุ ผลแก้ว. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(3): 61-70; 2565.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(4): 158-168; 2563

Zewdie, A., Mose, A., Sahle, T., Bedewi, J., Gashu, M., Kebede, N., & Yimer, A. The health belief model’s ability to predict COVID-19 preventive behavior: A systematic review. SAGE Open Medicine. 10: 20503121221113668; 2022.

Wafaa T. Elgzar, Awad M. Al-Qahtani, Nahid K. Elfeki, and Heba A Ibrahim. COVID-19 Outbreak: Effect of an Educational Intervention Based on Health Belief Model on Nursing Students' Awareness and Health Beliefs at Najran University, Kingdom of Saudi Arabia. African Journal of Reproductive Health. 24(2): 78-86; 2020.

Alsulaiman, S. A., & Rentner, T. L. The use of the health belief model to assess US college students’ perceptions of COVID-19 and adherence to preventive measures. Journal of public health research. 10(4): jphr-2021; 2021.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610; 1970.

Tsai, F. J., Hu, Y. J., Chen, C. Y., Tseng, C. C., Yeh, G. L., & Cheng, J. F.). Using the health belief model to explore nursing students' relationships between COVID-19 knowledge, health

beliefs, cues to action, self-efficacy, and behavioral intention: A cross-sectional survey study. Medicine. 100(11): e25210; 2021.

Okoli, C., Brouwer, K. R., & Walmsley, L. A. Using the Health Belief Model to Examine Adherence to Preventive Measures Among Nursing Students During COVID-19: A Cross-Sectional Analysis. Nursing education perspectives. 43(6): E50–E52; 2022.

มาลี เกื้อนพกุุล สุวิมล พนาวัฒนกุุล พีรยา นันทนาเนตร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของบุคลากรและนักศึษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(2): 81-92; 2564.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน วัลลภา ดิษสระ กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของวัยรุ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารคริสเตียน, 28(4): 74-87; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07