การศึกษาต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2565
คำสำคัญ:
ต้นทุนทางตรงรวม, ต้นทุนรวม, ต้นทุนต่อหน่วย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยในการให้บริการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนทางตรงรวม (Total Direct Cost :TDC) ในภาพรวมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ต้นทุนรวม (Full cost) และต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost) ของหน่วยบริการผู้ป่วย (Patient service : PS) และหน่วยบริการสร้างเสริมสุขภาพ (Non-Patient service : NPS) ในภาพรวมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้วิธีจัดสรรต้นทุนแบบ Simultaneous Equation Method โดยใช้สมการเส้นตรง (Linear equation) ใช้โปรแกรม Hospital Cost Profile สร้างเมตริกการกระจายต้นทุน (allocation matrix) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบศึกษาย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับผิดชอบงานวิเคราะห์ต้นทุนของ รพ.สต.8 แห่ง จำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลวิเคราะห์ต้นทุนตั้งแต่ ตุลาคม 2565 – พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีต้นทุนทางตรง (TDC) เท่ากับ 24,194,692.17 บาท หน่วยต้นทุนบริการผู้ป่วย (PS) มีต้นทุนรวม (Full cost) เท่ากับ 15,326,543.92 บาท และค่าเฉลี่ย Unit cost ของงาน OPD Clinic พิเศษ (DM HT) มีต้นทุนมากที่สุดคือ 260.39 บาทต่อครั้ง หน่วยต้นทุนบริการสร้างเสริมสุขภาพ (NPS) มีต้นทุนรวม (Full cost) เท่ากับ 6,620,006.62 บาท และค่าเฉลี่ย Unit cost ของงานให้บริการผู้ป่วยที่บ้านมีต้นทุนมากที่สุด 547.44 บาทต่อครั้ง
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพในผู้ป่วยนอก การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในหน่วยบริการ กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน โดยใช้ทรัพยากรให้เหมาะสม คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.2555 คู่มือบริหารจัดการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.
ตวงรัตน์ โพธะ และคณะ."การวิเคราะห์ต้นทุนการจัดบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงก่อนการระบาดและระหว่างการระบาดโรคโควิด 19 ปีงบประมาณ 2562-2564," วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 10(1),170-181.
Anand K, Pandav CS, Kapoor SK, Kumar G, Nath LM. Cost of health services provided at a primary health care. The National Medical Journal of India1995;8(4):156-61
Reynolds J. Cost analysis: primary health care management advancement programme-module 8, userûs guide. Washington: Aga Khan Foundation;1993.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.2565 แนวทางการดําเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (HDC). สถานะสุขภาพการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ.[อินเตอร์เน็ต].[สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566] แหล่งข้อมูล http://brm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=1fdf282fd28180eed7d1cfe0156a5e11.
สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566] แหล่งข้อมูล http://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=25290&deptcode=25290&deptcode=brc&news_views=388.
ดำรงค์ สีระสูงเนิน และประเสริฐ เก็มประโคน."การศึกษาต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2555”วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2558, มีนาคม - เมษายน ปีที่ : 24 ฉบับที่ 2 หน้า 296-304
สมจิตร เดชาเสถียร."การวิเคราะห์ต้นทุนบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอบแก่น”วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปี 2564, กรกฎาคม - ธันวาคม ปีที : 3 ฉบับที่ 2