การพัฒนาตัวแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะ อ้วนในเด็กวัยเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านควนตะแบก

ผู้แต่ง

  • วรรณลี ยอดรักษ์ Thaksin university
  • เจตจรรยา บุญญกูล
  • อนงค์ ภิบาล

คำสำคัญ:

ตัวแบบ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ภาวะอ้วน, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

โรคอ้วนในเด็กเป็นปัญหาสำคัญทำให้เกิดไม่ติดต่อเรื้อรัง การพัฒนาตัวแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนตะแบก มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน วิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างผู้เกี่ยวข้องการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน  จำนวน 24 คน ระยะที่ 2 พัฒนาตัวแบบฯ โดยผู้วิจัย และประยุกต์ใช้ค่า IOC เพื่อแสดงความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของตัวแบบฯกับองค์ประกอบหลักองค์ประกอบย่อยจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของตัวแบบฯ โดยใช้แบบประเมิน AGREE II (2017)

            ผลการศึกษา พบว่า 1) สถานการณ์การสร้างเสริมความรอบด้านด้านสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน เด็กที่มีภาวะอ้วนมีพฤติกรรมชอบบริโภคอาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง และขนมขบเคี้ยว และยังไม่สามารถจัดการตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนัก ผู้ปกครองต้องดูแลและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 2) ตัวแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) ความรู้ความเข้าใจ (2) การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (3) การสื่อสารเพื่อความเชี่ยวชาญ (4) การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพ (5) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (6) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง 3) ตัวแบบตวาม

รอบรู้ฯมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ (71.42) และคุณภาพในภาพรวมของตัวแบบ (89.79) ตัวแบบสร้างเสริมความรอบด้านสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน ตัวแบบฯส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองทำให้เด็กวัยเรียนบริโภคอาหารและมีกิจกรรมทางกายอย่างถูกต้อง สามารถประยุกต์ใช้ในเด็กวัยเรียนกับโรงเรียนอื่นๆ

References

World Health Organization, (2021), Obesity and overweight [Internet] [cited 2023 July 12]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนใน เด็ก. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ก.ค. 2566]; เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/pediatrics/pdf/service/Guideline/nutrition/obesity2557.pdf.

World Health Organization [WHO]. (2022). WHO Europeam Regional Obesity Report 2022. [อินเทอร์เน็ต]. [cited 2023 July 12]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle.

ชนวนทอง ธนสุกาญน์. (2556). แนวทางการทำสุขศึกษาและการสร้างเสริมสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ค. 2564]; เข้าถึงได้จาก http://cro.moph.go.th/cppho/download/628_ 10032016. pdf.

Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008; 67(12), 2072-8

จามจุรี แซ่หลู่และนภาวรรณ วิริยะศิริกุล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับ พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียน ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.; 7 (11); 1-15.

กองสุขศึกษา. (2562). การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง ภาวะอ้วน. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2566]; เข้าถึงได้จาก http://hed.go.th/linkHed/394.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือนักจัดการน้ำหนักเด็กวัยเรียน. นนทบุรี : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด;

กรมอนามัย. (2562). รายงานประจำปี กรมอนามัย 2561. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

อัจฉรา ภักดีพินิจ, ศรีวรรณ ยอดนิล, และดุสิต ขาวเหลือง. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในนักเรียนระดับประถมศึกษา.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุปราณี จ้อยรอด. (2565). การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมี ส่วนร่วมของพหุภาคีในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II; AGREE II). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2565]; เข้าถึงได้จาก https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/09/Thai-AGREE-II.pdf

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2564). คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญของเด็กอายุ 6-19 ปี. สมุทรปราการ : บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ , จุภาพร ภิรมย์ไกรภักดิ์ และ วิจิตรา นวนันทวงศ์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของเด็กวัยรุ่นตอนต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล กรุงเทพมหานคร. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค. 2566]; เข้าถึงได้จาก https://mwi.anamai.moph.go.th/th/mwiresearch/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04