การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล โดยกระบวนการสมัชชาสุขภาพตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • รุ่งฤดี ศรีชัยวาน -
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
  • พัดชา หิรัญวัฒนกุล

คำสำคัญ:

กองทุนหลักประกันสุขภาพ, สมัชชาสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประเภทการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสมัชชาสุขภาพ ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ 1) กลุ่มดำเนินการบริหารจัดการกองทุนฯ จำนวน 36 คน 2) กลุ่มภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมพัฒนาฯ จำนวน 35 คน เก็บรวบข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ Paired t – test

              ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วยกระบวนการ 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่และวิเคราะห์สภาพปัญหา 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) กำหนดประเด็นปัญหา พัฒนาประเด็นและแสวงหาฉันทามติ 4) จัดทำแผนปฏิบัติการ 5) ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการสู่การปฏิบัติ 6) ติดตาม สนับสนุน และประเมินผลการดำเนินงาน 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน และ 8) ถอดบทเรียน สรุปผล ปัญหาอุปสรรค ผลจากการใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มดำเนินการบริหารจัดการกองทุนฯ มีระดับความรู้ บทบาท การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจในการดำเนินงานกองทุนฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมพัฒนาฯ มีระดับความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจในการดำเนินงานกองทุนฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพตำบลทุ่งเขาหลวง ในครั้งนี้ คือ 1) การทำงานเป็นทีมของทุกภาคส่วน (Team work) 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย (Knowledge sharing) 3) ความมีภาวะผู้นำของนายกและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง (Leadership) คือ การมีส่วนร่วมของทุกเครือข่ายในพื้นที่ร่วมกันพัฒนากระบวนการ มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนการทำงานร่วมกัน เครือข่ายทุกภาคส่วนในชุมชนมีความเข้มแข็งและสามัคคี และผู้นำขององค์กรมีภาวะผู้นำและให้ความความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน สามารถนำทีมพัฒนากระบวนการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ส่งผลให้ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง ผ่านการประเมินการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อยู่ในระดับ A+ เป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูง สามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้ได้

References

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง. ผลการประเมินการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง ปีงบประมาณ 2564. ร้อยเอ็ด: องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง; 2564. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด.

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง. ผลการประเมินการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง ปีงบประมาณ 2566. ร้อยเอ็ด: องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง; 2566. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด.

จารุวรรณ ชีโฟธิ์, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว, ธีรยุทธ อุดมพร. ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลโนนแดง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2560;18:80-91.

ณัฐดนัย เสวขุนทด, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว. รูปแบบการประยุกต์ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ร่วมกับทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจชุมชนในการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. .มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.

ปถภณ พิริยะ, กัลยา หาญพิชาญชัย, กฤษณ์ ขุนลึก. การพัฒนาการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.

พจนีย์ ขัดโพธิ์, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, วิโรจน์ เซมรัมย์. กระบวนการสมัชชาสุขภาพในการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของชุมชน ตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.

สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางศาสตร์สุขภาพ(6th ed.). มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์; 2553.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช). สมัชชาสุขภาพ:เครื่องมือใหม่ในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช); 2551.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ. 2561) (1th ed). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2563.

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง. ข้อมูลพื้นฐานตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด.ร้อยเอ็ด: องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง; 2565. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด.

อัญชิรญา จันทรปิฏก, อุดมโชค อาษาวิมลกิจ. กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

อาหามะ เจ๊ะโซะ, พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ. การประยุกต์ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Geelong: Deakin University Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04