การพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหารสู่มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหาร, อาหารสะอาด , รสชาติอร่อย , ระดับดีมากบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหารสู่มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายซึ่ง ประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 165 คน ตัวแทนภาควิชาการ จำนวน 10 คน และตัวแทนภาคการเมือง จำนวน 3 คน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) กลุ่มศึกษาบริบท สถานการณ์ คือ กลุ่มประชาชน ภาควิชาการ และภาคการเมือง จำนวน 178 คน 2) กลุ่มที่มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบ คือตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน 3) กลุ่มที่เข้าร่วมประเมินผลการพัฒนาและปัจจัยแห่งความสำเร็จ จำนวน 60 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดย ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบประเมิน และแบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และ Paired simple t-test
ผลการวิจัยพบว่า จากการดำเนินงานพัฒนาร้านอาหารสู่ มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ซึ่งใช้การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จากการดำเนินงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ และสภาพชุมชน 2) การร่วมวางแผนกับภาคีเครือข่าย 3) การดำเนินการตามแผน 4) การสังเกตและติดตามผลร่วมกับภาคีเครือข่าย 5) การสะท้อนผลและถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จ ซึ่งทำให้ร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 8.33 เป็นร้อยละ 33.33 ซึ่งจากการมีแนวทางปฏิบัติที่ดี ทำให้การพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหารสู่มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม ประสบความสำเร็จ และสามารถนำแนวทางไปพัฒนาต่อเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตได้ โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ประกาศกรมอนามัย เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 123, 51.
กนกวรรณ คงธนาคมธัญกิจ.(2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบพร้อม ทานของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เทศบาลตำบลวาปีปทุม. (2565). ข้อมูลรายงานการตรวจร้านอาหารประจำปี 2565. อำเภอวาปีปทุม.มหาสารคาม: [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566].
ปริญญา กองกาย. (2563). รูปแบบการพัฒนาอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล ในจังหวัดกาฬสินธุ์. ออนไลน์ได้จาก:https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/255273. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565
วัชรินทร์ ทองสีเหลือง. (2562). การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: สมศักดิ์การพิมพ์.
ศักดิ์นันท์ ดวงตา และ กระจ่าง ตลับนิล. (2558). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานร้านอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean food good taste) อำเภอศรีวิไล. บึงกาฬ: บึงกาฬพัฒนา.
ศิริพล ภูปุย และมนกานต์ อินทรคำแหง. (2559). การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาด ชุมชน ตาบลโพน อาเภอคาม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2: กรกฎาคม -ธันวาคม 2559. ออนไลน์ . ได้จาก: https://Users/i/Downloads/73969-Article%20Text-175678-2-10-20161231%20(5).pdf. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566] .
สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค. (2566). ข้อมูลรายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506. [ออนไลน์]. ได้จาก: https:// www.moph.go.th. [สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565].
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rded.). Victoria:Deakin University.