การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุภาพร แปยอ -

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอย, รูปแบบการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทบทวนสถานการณ์ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน และ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตพื้นที่ชุมชนตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 75 คน จากกลุ่มคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนที่ 1 ศึกษาทบทวนสถานการณ์ ด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตำบลเหล่าบก ส่วนที่ 2 การสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 เพื่อกำหนดประเด็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และการสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 2 เพื่อหาข้อสรุปร่วมต่อรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของประชากรในตำบลเหล่าบกมี ทั้งหมด 5,435 คน แยกเป็นเพศชาย 2,625 คน คิดเป็นร้อยละ48.30 เพศหญิง 2,810 คน คิดเป็นร้อยละ 51.70 จำนวน 1,466ครัวเรือน มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน 149.66 ตัน/เดือน ขยะมูลฝอยทั่วไป 81.47 ตัน/เดือน ขยะอินทรีย์ 43.02 ตัน/เดือน ขยะรีไซเคิล 24.97  ตัน/เดือน ขยะอันตราย 0.2  ตัน/เดือน ปัญหาหลักด้านการจัดการขยะมูลฝอย คือ ประชาชนไม่มีการคัดแยกขยะมูลฝอยและนำมาขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์น้อย 2) ผลจากการสนทนากลุ่ม ได้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การคัดแยกขยะมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์โดยชุมชน การจัดการตั้งแต่ต้นทาง โดยคัดแยกเป็น 4 ประเภท คือ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะมูลฝอยทั่วไป และขยะอันตราย ขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จัดเก็บตามเวลาที่กำหนดตามที่ชุมชนเสนอ และกำจัดขยะอย่างถูกวิธีโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าบก นำรูปแบบการจัดการขยะจัดทำเป็นคู่มือ ประกอบด้วย สาเหตุของปัญหา กลวิธีดำเนินงาน วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. การจัดการขยะด้วย 3Rs. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562.จาก www.mict.go.th

กรมควบคุมมลพิษ ฝ่ายตรวจและบังคับการ. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2535 กฎ ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมมลพิษ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2558.

เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม และคณะ.การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพของเทศบาลเมืองหัวหิน. หลักสูตรรัฐประศาสนศาตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมืองมหาวิทยาลัยสวนดุสิ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2562

คำห่วง ใหม่วงษ์. “รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี,” วารสารช่อพะยอม. 29,2 (มิถุนายน - ตุลาคม 2561): 289 – 298.

ไชยะสิด วิลาพัด. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2561.

ณฐภพ ตุ่นวิชัย. ศึกษารูปแบบการจัดการขยะของชุมชนแบบมีส่วนร่วม บ้านท่ากระดาษริมเหมืองตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน) มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2560.

วิภาณี อุชุปัจ. ความรู้ พฤติกรรมในการจัดการขยะของประชาชน และคุณภาพการบริการในการ จัดการ ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2561.

ศิริชัย ศิริไปล์. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เทศบาลเมือง มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม, 2561.

สมัย พูลทอง และสุภาพร แปยอ. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานเลขานุการคณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี, 2563.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานปริมาณขยะมูลฝอย ปี 2565.สำนักงานเลขานุการคณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี, 2565.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2562.

Verisk Maplecroft Environment Dataset. Waste Generation and Recycling Indices 2019.(online2019cited17september 201)https://www.circularonlineco.uk/wp-content/uploads/2019/07/Verisk_Maplecroft_Waste_Generation_Index_Overview2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04