การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมและ ไร้รอยต่อ ตัวแบบลพบุรี: กรณีศึกษาอำเภอโคกสำโรง
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดไร้รอยต่อ, เครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมและไร้รอยต่อ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี การพัฒนามี 4 ระยะคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์สภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบ 3) การนำไปใช้จริง และ4) การประเมินผลลัพธ์ ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคือ เครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน 217 คน และกลุ่มประเมินผลการพัฒนาคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วย กลุ่มละ 95 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired samples t-test กระบวนการการพัฒนามี 5 กิจกรรม คือ 1) การตั้งกลุ่มเครือข่าย 2) การร่วมคิดร่วมทำ 3) การบริการสุขภาพ 4) การเสริมแรงทางบวก
5) การเฝ้าระวังความเสี่ยง ผลการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนาเครือข่ายมีความรู้ในระดับดีเพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 42.4 เป็น 50.7 คะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นจาก 3.34±1.01 เป็น 3.39±1.06
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพิ่มขึ้นจาก 2.80±0.96 เป็น 3.88±0.97 ผู้ดูแลมีภาระการดูแลผู้ป่วยลดลงจาก 3.48±0.61 เป็น 2.85±0.79 มีความรู้ในระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ76.8 เป็น 88.4 คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 3.34±0.79 เป็น 3.74±0.94 ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังพัฒนามีอาการทรงตัวร้อยละ 85.3 ความสามารถในกิจวัตรประจำวันร้อยละ 48.4 สรุปการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติดโดย มีการวางระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ผู้ดูแลในครอบครัวมีการติดตามเยี่ยมบ้าน และเป็นกระบอกเสียงช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ป่วยอย่างครบวงจร ทำให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น
References
World Health Organization. The global burden of disease 2008. [cited 2022 November 11] from: http//www.who.int
Walker L, Moodie R, Herrman H. Promoting mental health and wellbeing. In R. Moodie & A. Hulme (Eds.), Hands-on health promotion 2004:238-48.
กรมสุขภาพจิต. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวชข้อมูลจากคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (HDC) ประจำปีงบประมาณ 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/report/datacenter/hdc
พูนพัฒน์ กมลวุฒิพงศ์. การกระทำผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช. วารสารอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ 2565; 8(1):150-58.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดประจำปีงบประมาณ 2564-2566. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2564.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2563.
Wayne, WD. Biostatistics: A Foundations for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons, 1995.
Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son, 1967.
Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill, 1971.
Orem DE. Nursing concepts of practice (6th ed.). St. Louis; MO: Mosby Year Book, 2001.
โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนรินทร์. คู่มือการติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชนสำหรับเครือข่าย. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนรินทร์ จังหวัดสงขลา, 2566. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://www.skph.go.th/elibrary/index.php
อุไรวรรณ เกิดสังข์, อังศินันท์ อินทรกำแหง, นริสรา พึ่งโพธิ์สภ, ธีระยุทธ เกิดสังข์. ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการมีส่วนร่วม และแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2565;36(2):1-21.
นิตยา ฤทธิ์ศรี, สุกัญญา วัฒนประไพจิตร, ศุภลักษณ์ จันหาญ. รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชุมเป็นศูนย์กลาง กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564;19(2):50-63.
Eddie D, Hoffman L, Vilsaint C, et al. Lived Experience in New Models of Care for Substance Use Disorder. Frontiers in Psychology 2019; 10. [Cited May 26, 2023]. Form: https//www.frontiersin.org
รัศมี ชุดพิมาย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565;16(3):851-67.
Englander H, Dobbertin K, Lind BK, et al. Inpatient Addiction Medicine Consultation and Post-Hospital Substance Use Disorder Treatment Engagement a Propensity-Matched Analysis. J GEN INTERN MED. 2019;34(12):2796-803.