ผลของโปรแกรมการติดตามการกินยาฟาวิพิราเวียร์ของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • มาดีฮะห์ วาเง๊าะ
  • ชนกานต์ มีรอด
  • ชนาธิป หอมทอง
  • พัชรี มีเย็น
  • ธนัญชัย จวบประสพ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการติดตามการกินยาฟาวิพิราเวียร์, ผู้ป่วยโคโรนา 2019, บุคลากรทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการติดตามการกินยาฟาวิพิราเวียร์ของผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วย COVID-19 อายุ 18 ปี ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธี RT-PCR พบเชื้อ Coronavirus ในกลุ่มอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ได้รับการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมการติดตามการกินยาฟาวิพิราเวียร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์ แบบบันทึกพฤติกรรมการกินยา และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired sample t-test

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วย COVID-19 ทั้งหมด 271 ราย ภายหลังการได้รับโปรแกรมฯ มีระดับความรู้สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การติดตามพฤติกรรมการบันทึกการกินยาผ่านโปรแกรมฯ มีผู้บันทึกการกินยาครบทุกมื้อ 239 คน (88.19%) บันทึกการกินยาไม่ครบ 31 คน (11.44%) ผลการติดตามความคลาดเคลื่อนทางยา ไม่พบอุบัติการณ์การกินยาผิดพลาด การติดตามอาการข้างเคียงจากยาฟาวิพิราเวียร์ พบจำนวน 20 ครั้ง (7.38%) ประกอบด้วย คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ตามลำดับ ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการใช้โปรแกรมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D.=0.43) ซึ่งโปรแกรมการติดตามการกินยาฟาวิพิราเวียร์ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์ ทำให้มีความมั่นใจในการกินยา สามารถกินยาได้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย

References

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรสโคโรนา 2019 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no576-010864.pdf.

โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก. รายงานสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก มณฑลทหารบกที่ 35. อุตรดิตถ์: โรงพยาบาลสนามกองทัพบก มณฑลทหารบกที่ 35; 2564.

นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. การค้นคว้ายาต้านไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 1 : ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=485.

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/ Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640721115923AM_CPG_COVID_v.16.4.n.pdf.

พรรณี ลีลาวัฒนชัย และธนานันต์ ตัณฑ์ไพบูลย์. Favipiravir สำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2564;31(2):3-8.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสําหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 2562; 8(1):11-28.

ชัยพร สุวรรณประสพ. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันวีดีทัศน์ปฏิสัมพันธ์ เพื่อการเรียนรู้สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.

นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี. เภสัชกรกับการจัดการระบบยาและระบบสุขภาพในสถานการณ์การรระบาดของโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidrugwatch.org/download/series/48/series48-04.pdf.

ปริตรตา ไชยมล, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต และวรนุชแสงเจริญ. ผลของการให้ความรู้โดยเภสัชกรร่วมกับการใช้ภาพถ่ายแสดงวิธีการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560;9(2):475-488.

กนกพรรณ นิกรเพสย์ และสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์. ผลการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิก. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561;10(2):449-461.

Gulhan R., et al. Pharmacokinitic characterization of favipiravir in patient with COVID-19. Br J Clin Pharmacol 2022;88(7):3516-3522.

Abdur Rahman S.M., et al. Safety and efficacy of favipiravir for the management of COVID-19 patients: A preliminary randomized control trial. Clinical Infection in Practice 2022;15:2590-1702.

ชมพูนุช พัฒนจักร. ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;16(3):13-22.

จุธาดา สุวรรณธารา และอารีนา น้อยนงเยาว์. แอปพลิเคชันแจ้งเตือนการบริหารยา [ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2561.

Wanitchaya Yuenyong, Sarayut Nontakhamcher, Kitiya Polyotha, Sasiwimol Peethong and Songkran Chanchalanimitr. Medication Reminder Application. Payap University and UNRN Research Symposium 2022; 2022: 314-323.

Suthida Nakhornriab, Doungrut Wattanakitkrileart, Vishuda Charoenkitkarn, Songkram Chotikanuchit and Vajirasak Vanijja. The Effectiveness of Mobile Application on Medication Adherence in Patients with Stroke. Journal of nursing science 2017;35(3):58-69.

ศานตมล เสวกทรัพย์, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต และ ศิราณี ยงประเดิม. ผลการใช้โทรศัพท์ติดตามเพื่อลดปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาอะม็อกซีซิลลินชนิดรับประทาน. วารสารเภสัชกรรมไทย 2555;4(1):17-27.

ธีวรา โลมรัตน์ และตุลาการ นาคพันธ์. การประเมินประสิทธิพลของยาฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2565;7(2):8-18.

Kaur R.J., et al. Favipiravir Use in COVID-19: Analysis of Suspected Adverse Drug Event Reported in the WHO Database. Infect Drug Resist 2020;2020(13):4427-4438.

โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. รู้จักกับยาฟาวิพิราเวียร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue041/rama-rdu

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04