การพัฒนาแบบประเมินคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้อง รอพบแพทย์ และรับยาโดยไม่จำเป็น ณ โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • รัฐศาสตร์ สุดหนองบัว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

เว็บแอปพลิเคชัน, Smart NCDs Application, ผู้ป่วยเบาหวาน, ควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บสมาร์ท เอ็นซีดีส์ แอปพลิเคชัน ภายใต้โมเดลการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบรวดเร็ว (Rapid Application Development: RAD) และแนวคิด Joint application development (JAD) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับคัดกรอง และให้คำแนะนำ รวมทั้งแนวทางการจัดการตนเองแบบโต้ตอบแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเว็บสมาร์ท เอ็นซีดีส์ แอปพลิเคชัน กลุ่มเป้าหมาย ทีมพัฒนาจำนวน 5 คน คัดเลือกเฉพาะเจาะจง ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลของการใช้เว็บสมาร์ท เอ็นซีดีส์ แอปพลิเคชัน โดยการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีค่า HbA1c ≥ 7 mg% ได้รับการสุ่มเป็นกลุ่ม เพื่อใช้เว็บสมาร์ท เอ็นซีดีส์ แอปพลิเคชัน 32 คน และรับบริการดั้งเดิม 32 คน ดำเนินการวิจัย 4 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน

             ผลการวิจัย พบว่า เว็บสมาร์ท เอ็นซีดีส์ แอปพลิเคชัน สามารถค้นหา บันทึกข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคล และสามารถประมวลผลเชื่อมโยงระบบ HOSxP เพื่อแสดงผลและให้แนวทางการปฏิบัติพร้อมคำแนะนำในการจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการประเมินประสิทธิผล พบว่า กลุ่มศึกษาที่ใช้เว็บสมาร์ท เอ็นซีดีส์ แอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงหลัง 12 สัปดาห์แม้จะไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม (p = 0.384) และมีความพึงพอใจระดับมากที่เว็บแอปพลิเคชันลดระยะเวลารอคอยในการรอรับบริการ (  = 4.62, S.D. = 0.55) และพึงพอใจในการให้คำแนะนำ แนวทางในการจัดการตนเองแบบโต้ตอบ (  = 4.31, S.D. = 0.69) จึงสามารถนำเว็บสมาร์ท เอ็นซีดีส์ แอปพลิเคชันไปใช้ประกอบการพัฒนาระบบงานให้บริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไปได้

References

Qiao J, Lin X, Wu Y, Huang X, Pan X, Xu J, et al. Global burden of non-communicable diseases attributable to dietary risks in 1990-2019. J Hum Nutr Diet. 2022;35(1):202-13.

The Global Burden of Disease. Global Burden of Disease Study 2019 (GBD 2019) [Internet]. 2020 [cite 10 November 2023]. Available from: https://vizhub.healthdata.org/gbd-results/

Ministry of Public Health Thailand., United Nations Thailand., UN interagency Task Force on NCDs. Preventive and Contral of Noncommunicable Disease in Thailand. Nonthaburi: Ministry of Public Health Thailand; 2022.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2562. นนทบุรี: บริษัท แฮนดี เพรส จำกัด; 2566.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก’ ต้นเหตุ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566] เข้าถึงได้จาก: https://

www.hfocus.org/content/2019/11/18014.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. นโยบายลดความแออัด ลดการรอคอย ในโรงพยาบาล แค่รับยาที่ร้านขายยาจริงหรือ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.

hfocus.org/content/2019/10/17865.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/1PWgC.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566] เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/.

โสภณ เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2555.

จำเนียร พรประยุทธ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และสมสมัย รัตนากรีฑากุล. ผลของโปรแกรมการชี้แนะต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและ ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2: Effects of Coaching Program on Behavioral Diabetes Control and HbA1C among Persons with Type 2 Diabetes Mellitus. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(4):60-9.

พรเทพ ด่านน้อย, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา และไพศาล สิมาเลาเต่า. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2566] เข้าถึงได้จาก: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/

/706.

Zhang L, He X, Shen Y, Yu H, Pan J, Zhu W, et al. Effectiveness of Smartphone App-Based Interactive Management on Glycemic Control in Chinese Patients With Poorly Controlled Diabetes: Randomized Controlled Trial. J Med Internet Res. 2019;21(12):e15401.

Yang Y, Lee EY, Kim HS, Lee SH, Yoon KH, Cho JH. Effect of a Mobile Phone-Based Glucose-Monitoring and Feedback System for Type 2 Diabetes Management in Multiple Primary Care Clinic Settings: Cluster Randomized Controlled Trial. JMIR Mhealth Uhealth. 2020;8(2):e16266.

คณิติน จรโคกกรวด และลักขณา สริวัฒน์. การพัฒนาแอปพลิเคชันด้านสุขภาพจิตสำหรับการให้การปรึกษารายบุคคลแบบออนไลน์เพื่อลดความเครียดของวัยรุ่น. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2565;16.

วัชรี พันธ์เถร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และจตุพร เหลืองอุบล. การพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบวิถีใหม่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเพิ่มสุข อําเภอผาขาวจังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2566;9:44-53.

กษมา ดอกดวง, บุญมี โททำ และปิยภัทร โกษาพันธุ์. การพัฒนาแอ็ปพลิเคชันช่วยดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน สำหรับผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;11(2):53-65.

Junsukon E, Supanakul P. Development of Screening Application for Type 2 Diabetes Mellitus in The Population ages 15-34 Year. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University. 2022;16(2):646 - 55.

ปารมี จารุพันธ์. ประสิทธิภาพและความพึงพอใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ: กรณีศึกษา แอพพลิเคชั่น Rama App ของโรงพยาบาลรามาธิบดี [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566] เข้าถึงได้จาก: https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7507

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04