ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • มันทะนา มะเดื่อ -

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการดูแล, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 82 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์

ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี ( = 2.60, S.D. = 0.490) เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้และทัศนคติ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ  ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแผนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต่อไป

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2562. พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานพิมพ บํารุงสาสน.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบ Health Data Center. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มีนาคม 2565. จาก https://cco.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2565). ระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มีนาคม 2565. จาก https://ltcnew.nhso.go.th

กรมอนามัย. (2563). คำแนะนำผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 23 มีนาคม 2565. จากhttps://covid19.anamai.moph.go.th

Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of StudentGreen, L. W., & Kreuter, M. W. (1991). Health promotion planning: An education and environmental approach. Toronto: Mayfield Publishing Company.

Best, J.W. (1977). Research in Education.(3 rd ed) Engelwood Cliffs,New Jersy:Pretice Hall,Inc.

กัญญา ศรีประยูร. (2562, เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุในโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จังหวัดอ่างทอง. [วารสารออนไลน์]. วารสารสุขศึกษา, ปีที่่ 42, ฉบับที่ 2, 44 - 51.

ชนายุส คำโสม, สุนีย์ ละกำปั่น และเพลินพิศ บุณยมาลิก. (2561, เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดร้อยเอ็ด. [วารสารออนไลน์]. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, ปีที่่ 12, ฉบับที่ 2, 293 – 207

สมจิตร์ ขุนสุข. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 25 มีนาคม 2565. จาก https://atgh.moph.go.th/sites/default/files /2023-02/เอกสารเผยแพร่.pdf

จีราวรรณ นามพันธ์, นฤมล เอื้อมณีกูล และสุรินธร กลัมพากร. (2563, เดือนกรกฎาคม - กันยายน). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วารสารออนไลน์]. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, ปีที่่ 28, ฉบับที่ 3, 38 - 51.

เจริญชัย หมื่นห่อ และสุพรรณี พูลผล. (2559, เดือนมกราคม - เมษายน). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม. [วารสารออนไลน์]. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ปีที่่ 6, ฉบับที่ 1, 79 - 86.

สรรเสริญ อุ้ยเอ้ง. (2565, เดือนมกราคม - ธันวาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เข็มกระตุ้น (เข็ม 3) ของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. [วารสารออนไลน์]. เอกสารเผยแพร่ผลงานวิชาการโรงพยาบาลสงขลา, ปีที่ 3, ประจำปีงบประมาณ 2565, 1 - 14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30