ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานในเขตตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
การใช้บริการทันตกรรม, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, วัยทำงานบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวาง นี้ เพื่อศึกษาความชุกของการไม่มารับบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 345 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากกลุ่มวัยทำงาน อายุ 20-59 ปี และหาความสัมพันธ์การถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.8 มีอายุอยู่ในช่วง 40-49 ปี ร้อยละ 27.8 ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 82.9 พบว่าความชุกการไม่มาการมารับบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่ทำการศึกษามีความชุกของการไม่มาการมารับบริการทันตกรรม (ร้อยละ 31.01) ซึ่งน้อยกว่าความชุกของมาการมารับบริการทันตกรรม (ร้อยละ 68.99) และพบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน คือ ผู้ที่เข้าถึงบริการระดับน้อย-ปานกลาง มีโอกาสไม่เข้ารับบริการ 2.51 เท่า (p=0.033) และ 3.58 เท่า (p=0.001) สูงกว่าผู้เข้าถึงระดับในระดับมาก และพบว่าผู้ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในระดับน้อย-ปานกลาง มีโอกาสที่จะไม่มารับบริการ 6.22 เท่า (p = 0.011) และ 1.75 เท่า (p = 0.075) สูงกว่ากลุ่มที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการเข้ารับบริการในระดับมาก
References
นาตยานี เซียงหนู. สถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลวัยทำงาน ในเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 11(26); กันยายน-ธันวาคม 2560.
วิชชุพร เกตุไหม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการศึกษาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพพนักงานในสถานประกอบกิจการ 3 แห่ง, วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 46(1); มกราคม - มีนาคม 2566, 2566
ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการทางทันตกรรมจากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 5 (1); 2561.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก แห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560, 2561.
รุ่งเพ็ชร บุญทศ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารทันตาภิบาล 31(2); กรกฎาคม–ธันวาคม, 2563
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจอนามัยและสวัสดิการ ครั้งที่ 23, พ.ศ. 2566
สุพัตรา วัฒนเสน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมของวัยทำงานในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): กรณีศึกษาเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2556 และพ.ศ. 2558, วารสารทันตาภิบาล. 33 (2); กรกฎาคม-ธันวาคม, 2565.
รุ่งเพ็ชร บุญทศ.ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี, วารสารทันตาภิบาล. 31(2); กรกฎาคม–ธันวาคม, 2563.
คลังข้อมูลสุขภาพ จังหวัดน่าน. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก, สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566, จาก https://nan.hdc.moph.go.th/hdc.
Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences, (9 thed.). New York: John Wiley & Sons.
ทรรศน์มน ทิมทอง. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน (Sustainable Housing) ของผู้บริโภคในประเทศไทย, พ.ศ.2565.
จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ และยุคนธ์ เมืองช้าง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1), 60-70, 2019.
นงค์นุช สุรัตนวดี และเกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้ารับการตรวจคัดกรองเอชไอวีที่คลินิกให้การปรึกษา และตรวจเลือดด้วยความสมัครใจของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 27(3); กันยายน – ธันวาคม, 2563.
นิลุบล ดีพลกรัง. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น 3 (1); มกราคม –มิถุนายน, 2564.
Ong-Artborirak P, Seangpraw K. Association between self-care behaviors and quality of life among elderly minority groups on the border of thailand. JMDH. 2019;12:1049-1059. doi: 10.2147/JMDH.S227617.