ความหมายและองค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการของวัยรุ่นตอนต้น

ผู้แต่ง

  • วรรณลี ยอดรักษ์ Thaksin university
  • วัลลภา เชยบัวแก้ว
  • สมเกียรติ สายธนู
  • ศรีสุดา วนาลีสิน

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ, วัยรุ่นตอนต้น, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตพัฒนาการที่ดีมีบทบาทสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอด เลือดหัวใจ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความหมายและองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านอาหารและ โภชนาการของวัยรุ่นตอนต้น ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ และด้านวัยรุ่น จำนวน 9 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการของวัยรุ่นตอนต้น เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย พบว่า ความหมายของความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการของวัยรุ่นตอนประกอบด้วย 2  ธีม 1) ความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการ อาหารหลัก 5 หมู่ ธงโภชนาการ อาหารปลอดภัย ปริมาณและสัดส่วนอาหาร แหล่งที่มาของอาหาร การปรุง การเตรียม การจัดการอาหาร เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการกินอาหารเพื่อสุขภาพเหมาะสมกับ 2) ทักษะ ค้นหา และวิเคราะห์ข้อมูล ตัดสินใจ เลือก รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเหมาะสมกับวัย องค์ประกอบของความ รอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการของวัยรุ่นตอนต้นประกอบด้วย 3 ธีม ดังนี้ 1) ความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการขั้นพื้นฐาน เป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่อ้างถึงความสามารถในการรับ อ่าน และทำความเข้าใจข้อมูลโภชนาการ 2) ความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการขั้นปฏิสัมพันธ์ มุ่งเน้นไปที่ความรู้และเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม 3) ความรอบรู้ด้านอาหารและ โภชนาการขั้นวิจารณญาณ ความสามารถในการตีความ สังเคราะห์ วิเคราะห์ ประเมิน และจัดการข้อมูลโภชนาการ ผลการวิจัย สามารถต่อยอดพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านโภชนาการในวัยรุ่นตอนต้นและเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นตอนต้นต่อไป

References

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารรสุข. (2559). แนวทางการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส. และลดเสี่ยง. นนทบุรี : กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข.

Gibbs, H., and Chapman, N.K. (2013). “Establishing content validity for the nutrition literacy assessment instrument,” Prev Chronic Dis. 10, 109-117.

Joulaei H., Keshani P., Kaveh M H. (2018). “Nutrition literacy as a determinant for diet quality amongst young adolescents: a cross sectional study,” Progress in Nutrition. 20(3), 455-464.

GBD. (2017). Diet Collaborators. (2019). Health effects of dietary risks in 195 countries, 1990–2017: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017 Volume 393, Issue 10184, 11–17 May 2019, Pages 1958-1972 https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0140673619300418?via%3Dihub.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

Norris, A. S., Frongillo, A. E., Black, M. M., Dong, Y., Fall, C., Lampl, M., Liese, D. Angela, Naguib, M., Prentice, A., Rochat, T., Stephensen, B. C., Tinago, B. Ward, A K., Wrottesley, V. G., and Patton†, C. (2022). “Nutrition in adolescent growth and development,” Lancet. 399, 172–84.

รัตนาภรณ์ สาสีทา, คัติยา อีวาโนวิช และฉวีวรรณ บุญสุยา. (2565). ความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภค อาหารของนักศึกษา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 17(1). 28-43.

สุกัญญา คณะวาปี และ เกศินี สราญฤทธิชัย. (2565). “ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียน รอบรู้ด้านสุขภาพต่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน” วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 8 (2), 105-118.

ซู้หงษ์ ดีเสมอ นพวรรณ เปียซื่อ วันทนา มณีศรีวงศ์กูล พิศสมัย อรทัย. Karen G Schepp. (2020). “การพัฒนาเครื่องมือ และการทดสอบคุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบประเมินความรอบรู้ด้านโภชนาการสำหรับวัยรุ่นไทย”. Pacific Rim International Journal of Nursing Research. 20(1), 5-19.

Vidgen, H.A.; Gallegos, D. (2014). Defining food literacy and its components. Appetite, 76, 50–59.

อภิญญา เพ็ชรศรี. (2561). “การวิจัยและพัฒนารูปแบบการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาของธุรกิจจ าหน่ายอาหารฟาสต์ฟู้ด และ อาหารขยะในเด็กวัยเรียน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง.วารสารวิชาการแพทย์, 32(2), 935-944.

Aihara, Y. Minai, J. (2011). “Barriers and catalysts of nutrition literacy among elderly Japanese people,”. Health Promot. Int. 26, 421–431.

Cassar, A.M., Denyer, G.S., O’Connor, H.T., andGiord, J.A. (2018). A qualitative investigation to underpin the development of an electronic tool to assess nutrition literacy in Australian adults. Nutrients. 10, 251.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30