ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ทัศนคติแรงจูงใจ, แรงสนับสนุนทางสังคม, การรับรู้บทบาท อสม.บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ประชากร คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว ที่อายุ 18 ขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 2,333 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 805 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ Stepwise Multiple Regression
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.6 เพศชาย ร้อยละ 12.4 ส่วนมากมีอายุ 60-79 ปี ร้อยละ 69.7 โดยมีอายุน้อยสุด 23 ปี และอายุสูงสุด 85 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 64.3 (SD = 79.58) มีสถานภาพสมรสแต่งงานมากที่สุด ร้อยละ 65.1 ระดับการศึกษาประถมศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 62.5 ประกอบอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน มากที่สุด ร้อยละ 34.4 รายได้ต่อเดือน ≤ 10,000 บาท มากที่สุด ร้อยละ 90.9 ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการทำงาน คือ 16 ปีขึ้นไป ร้อยละ 52.1
ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอสม.ในทีมหมอครอบครัวอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 64.5 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอสม.ในทีมหมอครอบครัว ได้แก่ การรับรู้บทบาท แรงจูงใจ ทัศนคติ และแรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, การรับรู้บทบาทในการปฏิบัติงาน, และทัศนคติต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัวได้ร้อยละ 41.3
References
Primary Care Cluster Division. Guideline primary care cluster service. Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary; 2017. (in Thai).
สำนักบริหารการสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.) District Health System (DHS) ฉบับประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
ภูรีนุช เจริญสรรพ์ ดร.โชคชัย หมันแสวงทรัพย์ ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย ดร.ศุภชัย ปิติกุลตัง. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการปฏิบัติงานทีมหมอครอบครัว จังหวัดจันทบุรี. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 (น.71). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562.
Daniel, W.W. Biostatistics : A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons. 1995.
Bloom, B.S. and Block, J.H. Mastery learning: Theory and Practice. NewYork: Holt, Rinchart and Winston. 1975.
ปรางค์ จักรไชย และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 31(1), 2560.
ทรงศักดิ์ เทเสนา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในทีมหมอครอบครัว. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 23(2), 2563.
ธัญวรรณ เกิดดอนทราย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. มปป. 2565.
Allport Gordon W. Pattern and growth in personality. New York: Holt, Rinehart and Winston. 2009.
Herzberg, F. The motivation to work. (2nd ed.). New York: John Wiley. 1959.
พิมลกานต์ ติ๊บบุญศรี และวิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 9(3). 2566.
Schermerhorn, J. R. Management (7th ed). New York: John Wiley & Sons. 2000.
House, J.S. Work stress and social support. Reading, Mass: Addison-Wesley. 1981