ผลการพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • หรรษา ชื่นชูผล
  • จุรีรัตน์ สิงห์คำ
  • จักรพงษ์ วงศ์กมลาไสย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ , ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เรื่องผลการพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อประเมินผลการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดอุบลราชธานีโดยมีกระบวนการวิจัย 6 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจปัญหาและความต้องการ 2) การออกแบบระบบต้นแบบ 3) การพัฒนาระบบต้นแบบ 4) การทดลองใช้งานและการปรับปรุงระบบ 5) การขยายการใช้งาน และ 6) การประเมินผล ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกต การสนทนากลุ่ม การประเมินความพึงพอใจรูปแบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสรุปข้อมูลจากระบบรายงานการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย ใช้แบบสังเกต แบบบันทึกผลการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ ประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าน้อยที่สุด ค่ามากที่สุด และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดอุบลราชธานี สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานจากกระดาษเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้ง 4 ขั้นตอนของระบบการส่งต่อ ประกอบด้วยการส่งผู้ป่วย การรับส่งต่อ การส่งกลับ และการรับการส่งกลับ สามารถลดระยะเวลาและกระบวนการส่งตัวผู้ป่วย โดยผู้ใช้งานมีค่าระดับความพึงพอใจระดับมากทุกด้านค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 และผู้วิจัยสรุปรูปแบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวทาง SMART Model ประกอบด้วย  S : Service Design การวิเคราะห์ออกแบบระบบที่ดี ครอบคลุมทุกกระบวนงาน M : Monitoring & Maintenance การติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และการปรับปรุงระบบตามความต้องการ A : Attitude ทัศนคติเชิงบวกของผู้บริหารและผู้ใช้งานที่มีต่อระบบ R : Rationality ความมีเหตุผลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และ T : Technology การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้กับทั้ง 26 โรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี และควรพัฒนาระบบการเชื่อมโยงการรับส่งต่อ ทั้งในจังหวัด ในเขตสุขภาพ และนอกเขตสุขภาพ รวมไปถึงการกำหนดนโยบายระดับประเทศ

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลการส่งต่อ [ออนไลน์]. https://nrefer.moph.go.th/#/main /reports /dashboard (16 ธันวาคม 2566).

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสน์.

เพ็ญแข ศิริวรรณ และคณะ. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

บุญมี พันธุ์ไทย. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาการประเมิน หน่วย 5 สัมมนาการวิเคราะห์ข้อมูลการนำเสนอและการใช้ผลการประเมิน นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.( pp.202-204)

ปริญญา หอมอเนก. บทวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ออนไลน์). สืบค้น 03 มีนาคม 2562 จาก http//ftp.psu.ac.th/pub/itil/ITSMITIL.pdf

กมลวรรณ สัมพันธกุล. การพัฒนารูปแบบการให้บริการภาครัฐผ่านระบบ e-Service : กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคม. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563

วรวุฒิ โฆวัชรกุล. โครงการการพัฒนาระบบโรงพยาบาลหนึ่งเดียวในกลุ่มเครือบริการที่ 2 จังหวัด เชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

เสาวนีย์ มหาชัย ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์ และแก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. การใช้เทคโนโลยีมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมในจังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

ปรีชา แหวนหล่อ, บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์และ สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยทางอินเทอร์เน็ต จังหวัดศรีสะเกษ. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2560;16(3): กรกฎาคม – กันยายน : 215 – 24.

ชฎาพร ศรีสุระ. ระบบการส่งต่อของผู้ป่วยโรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี; 2553.

อัจฉรา เด่นเจริญโสภณ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13