รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุข ต้นแบบด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ทักษะด้านการสื่อสาร, อาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ ระยะที่ 1 ทำการศึกษาเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามระดับทักษะการสื่อสารและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อร่างรูปแบบฯ และนำไปพัฒนาระยะที่ 2 สัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสุขภาพภาคประชาชน จำนวน 2 ครั้ง ตรวจสอบคุณภาพด้านข้อมูลและปรับปรุงรูปแบบฯ นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองในระยะที่ 3 ตามแผนการทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม จำนวน 42 คนต่อกลุ่ม คัดเลือกจากการศึกษาระดับทักษะการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดพะเยาที่มีระดับปานกลาง ระยะที่ 1 มาเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test ระยะที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 14 คน
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบ Academy Health Model ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย A:Active learning
C:Communication skill 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ ขั้นให้ความสนใจ ขั้นจำ ขั้นปฏิบัติ และขั้นจูงใจ A:Associate ภาคีเครือข่าย สสจ. สสอ. รพ.สต. และ อปท., D:Development พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร E:Education เวที Academy แห่งการเรียนรู้ M:Monitoring การกำกับติดตามและจัดกิจกรรม โดยครูพี่เลี้ยง รพ.สต. คณะกรรมการและตัวแบบ Y:Phayao การพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขพื้นที่จังหวัดพะเยา และ Health Model คือ ตัวแบบอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดพะเยา ผลการทดลองใช้ พบว่า ความรู้และพฤติกรรมที่แสดงออกด้านทักษะการสื่อสาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดระยะเวลาสามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์และบริบทพื้นที่ ในส่วนของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการในการเรียนรู้จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอน 4 ขั้น ควรเพิ่มระยะเวลาในขั้นจำและขั้นปฏิบัติ เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเกิดทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2565). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (ด้านสาธารณสุข). สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, http://dmsic.moph.go.th
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2558). แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินผลงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเยี่ยม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเยี่ยมอย่างยิ่ง. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2554). คู่มือ อสม.ยุคใหม่.กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา, “การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน,” เอกสารรายงานผลการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
ประจักษ์ กึกก้อง. (2558). สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). จาก https://so05.tci-thaijo.org.
จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ และยุคนธ์ เมืองช้าง. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.
Bandura, A. (1977). Social learning theory: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice - Hall.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข;2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/new2020/content/1
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. New York : Wiley & Son.
John W. Best, Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc., 1981, p. 182.
Krueger, R. A. (1988). Focus groups: A practical guide for applied research. Newbury Park, California, U.S.A.: Sage Publications, Inc.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis. Psychological Science, 1 (3) : 98 - 101.
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. การประเมินการปฏิบัติ แนวคิดสู่การปฏิบัติ Performance Assessment : Concept to Practice. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
Bandura, A. (1997). Self - Efficacy : The exercise of control. New York. W.H. Freeman.
บำรุง วงษ์นิ่ม. (2565). การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพอำเภอท่าวุ้ง. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. https://he01.tci-thaijo.org
ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์, สุวิมล ตั้งประเสริฐ และคณะ. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. https://so04.tci-thaijo.org