การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารการพยาบาล, โรคปอดอักเสบในเด็กบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่าง 1 เมษายน -31 ตุลาคม 2566 จำนวนรวม 264 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ กระบวนการพัฒนามี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสำรวจสถานการณ์ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาล 2) ระยะพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ และนำไปปฏิบัติ 3) ระยะประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Pair t test, Mann withney u test และ chi square
ผลการศึกษา: 1) ศึกษาสถานการณ์ พบว่าอัตราการกลับมารักษาซ้ำ ปี 2565 เท่ากับร้อยละ 7.5 พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กของผู้ดูแลยังไม่ถูกต้อง บุคลากรพยาบาลยังมีการปฏิบัติที่หลากหลาย 2) รูปแบบการบริหารการพยาบาล ประกอบด้วย (1) มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ (2) การคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือน (PEWS) (3) การนิเทศทางการพยาบาล และ (4) การวางแผนจำหน่าย
2) ผลการพัฒนา พบว่า (1) การกลับมารักษาช้ำภายใน 28 วัน (2) การย้ายเข้าหอผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้วางแผน (3) ภาวะการหายใจล้มเหลว ลดลง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (4) ความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (5) การปฏิบัติตามมาตรฐานและการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือน (PEWS) ปฏิบัติร้อยละ 93.67 ถึง 100 (6) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (7) วันนอนในโรงพยาบาล และ (8) ค่าใช่จ่ายในการรักษาพยาบาล หลังการใช้รูปแบบฯ ลดลง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
สรุป รูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก ที่พัฒนาขึ้นจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษา สามารถนำรูปแบบนี้ไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบได้
References
World Health Organization [Internet]. End preventable child deaths from pneumonia and diarrhoea by 2015: The integrated global action plan for pneumonia and diarrhea. [cited 2022 April 27]. Available from: http://www.who.int/woman_child_ac countability/news/gappd_2013/en
Department of Disease Control. [Intemet]. National disease surveillance (report 506). [cited 2023 January 1]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y61/d31_5261.pdf
สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562: ปอดบวม (Pneumonia). กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2562.
โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร สถิติประจำปี 2565. โรงพยาบาลยโสธร: หน่วยเวชระเบียนโรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร; 2565
Donabedian A. The quality of care: How can it be assessed. Joumal of American Medical Association. 1988; 260(1):1743-8.
กองการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2542.
Monaghan, A. Detecting and managing deterioration in children: AlanMonaghan describes how the introduction of a critical care outreach service and a pediatric early warning score improved management of acutely ill children. Pediatric Nursing, 2005; 17(1), 32-35.
Proctor, B. Training for the supervision alliance attitude, skill and intention in Fundamental Themes in Clinical Supervision: London: Routledge. 2001; 25-46.
Schepp, K. Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. Unpublished manuscript, University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA; 1995.
ฆนรส อภิญญาลังกร วราภรณ์ ผาทอง และรัตนาภรณ์ ภูมรินทร์. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการทางเดินหายใจในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559; 27(เพิ่มเติม 1), 139–151.
ศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง พรทิพย์ รัตนวิชัย และช้องมาศ จักรวิเชียร. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกองการพยาบาล, 2552; 36(3), 96-112.
จารุพรรณ ตันอารีย์. ประสิทธิภาพการใช้ Pediatric early warning score: PEWS ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกำแพงเพชร. ว. กุมารเวชศาสตร์ 2559; 55(3): 196-200.
อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีกาวะหายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 2562; 58(3):175-80.
ดวงเนตร์ ภูวัฒนาวนิชย์. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล. 2560; 19(2):35-44.
รัชนีย์ พิมพ์ใจชน. ผลของการใช้รูปแบบเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผน[อินเทอร์เน็ต].ชลบุรี: กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี; 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 เข้าถึงได้จาก: http://www.cbh.moph.go.th/app/ intranet/files/km/1507186947_8.
Ennis, L. Pediatric early warning scores on a children's ward: A quality improvement initiative: Linda Ennis discusses the implementation and evaluation of a track and trigger system to improve the care, referral and outcomes for acutely ill young patients. Nursing Children and Young People, 2014; 26(7), 25-31.