ผลการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนรู้การสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดวิจารณญาณ นักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

-

ผู้แต่ง

  • วรรณลี ยอดรักษ์ Thaksin university
  • ณัฏฐินี ชัวชมเกตุ

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้การสะท้อนคิด, การคิดวิจารณญาณ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การพัฒนาความสามารถการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติทางคลินิกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบ One group pretest-posttest design มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้การสะท้อนคิด 2) เพื่อศึกษาผลการสะท้อนคิดในการพัฒนาการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็ก จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้การสะท้อนคิด ซึ่งมีค่า IOC เท่ากับ 0. 82 2) แบบบันทึกการสะท้อนคิด มีค่า IOC เท่ากับ 0.86 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการคิดวิจารณญาณ มีค่า IOC เท่ากับ 0.82 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired  t-test และ การวิเคราะห์เนื้อหา 

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดวิจารณญาณก่อนการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดอยู่ในระดับสูงและค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดวิจารณญาณหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดอยู่ในระดับสูงมาก (µ = 87.43, s = 6.78; µ =105.60, s = 7.81 ตามลำดับ) โดยหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้การสะท้อนคิดสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการเรียนรู้การสะท้อนคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) 2) ผลการสะท้อนคิดโดยใช้การเรียนรู้รูปแบบการสะท้อนคิด พบว่า สามารถพัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ 2) การประเมิน 3) การอธิบาย 4) การควบคุมตนเอง 5) ความรู้สึกด้านบวกกับตนเอง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสะท้อนคิดทำให้การคิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้น จึงควรส่งเสริมให้ผู้สอนใช้รูปแบบการสอนสะท้อนคิดในรายวิชาอื่นๆเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณนักศึกษาพยาบาล

References

ทัศนา แขมมณี. ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: บูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตยสถาน. 2554;36(2):188-204.

Pitt V, Powis D, Levett-Jones T, Hunter S. The influence of critical thinking skills on performance and progression in a pre-registration nursing program. Nurse education today. 2015; 35(1): 125-131. [Internet]. [Cited in 16 October 2023]. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S026069171400269X

Choi E, Lindquist R, Song Y. Effects of problem-based learning vs. traditional lecture on Korean nursing students' critical thinking, problem-solving, and self-directed learning. Nurse education today. 2014; 34(1): 52-56. [Internet]. [Cited in 16 October 2023]. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0260691713000695

Bensley DA, Spero RA. Improving critical thinking skills and metacognitive monitoring through direct infusion. Thinking Skills and Creativity.2014; 12: 55-68. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1871187114000066

Ozkahraman S, Yildirim B. An overview of critical thinking in nursing and education. Am Int J of Contemp Res. 2011; 1(2): 190-6. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://d1wqtxts1xzle7.cloudfront.net/86197034/25-libre.pdf?1653044577

Paul SA. Assessment of critical thinking: a Delphi study. Nurse Educ Today. 2012; 34(11): 1357-60. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.nedt.2014.03.008 0260-6917

Lee DS, Abdulla, KL, Subramanian P, Bachmann RT, Ong SL. An integrated review of the correlation between critical thinking ability and clinical decision‐making in nursing. Journal of Clinical Nursing. 2017; 26(23-24): 4065-4079. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/jocn.13901

Azizi-Fini I, Hajibagheri A, Adib-Hajbaghery M. Critical thinking skills in nursing students: a comparison between freshmen and senior students. Nursing and midwifery studies, 2015; 4(1): 1-5. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC4377532/

Huang GC, Newman LR, Schwartzstein RM. Critical thinking in health professions education: summary and consensus statements of the Millennium Conference 2011. Teaching and learning in medicine. 2014; 26(1): 95-102. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/10401334.2013.857335

Lew MD, Schmidt HG. Self-reflection and academic performance: Is there a relationship. Adv. Health Sci. Educ. 2011; 16: 529-539. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/s10459-011-9298-z

Chen SY, Lai CC, Chang HM, Hsu HC, Pai HC. Chinese version of psychometric evaluation of self-reflection and insight scale on Taiwanese nursing students. Journal of Nursing Research. 2016; 24(4): 337-346. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://journals.lww.com/jnrtwna/fulltext/2016/12000/Chinese_Version_of_Psychometric_Evaluation_of.10.aspx

Yeh HC, Yang SH, Fu JS, Shih YC. Developing college students’ critical thinking through reflective writing. Higher Education Research & Development. 2023; 42(1): 244-259. [Internet]. [Cited in 2 November 2023]. Available from: https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/07294360.2022.2043247

Thaksin university. Satisfaction Toward Nursing Graduated Class 2 in Academic year 2022 from stakeholders Rnnual Report. 2023. [Internet]. [Cited in 16 October 2023] Available from: https://www.tsu.ac.th/

Gibbs G. Learning by doing: A guide to teaching and learning methods. Further education unit. Oxford: Oxford Polytechnic.1988. [Internet]. [Cited in 16 October 2023] Available from: https://stephenp.net/wp-content/uploads/2015/12/learning-by-doing-graham-gibbs.pdf

ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, ปาริฉัตร อุทัยพันธ์. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบการ สะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนียะลา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2020; 13(1): 83-93.

วิเชียร เกตุสิงห์. ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา. 2538; 18(3): 8 -11.

รัตติกร เหมือนนาดอน, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล, สันติ ยุทธยง. การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2562; 35(2): 13-25.

Kim Y, Kim Y. The influence of academic self-efficacy, and critical thinking disposition on problem solving ability of nursing students. Journal of the Korea Academia-Industrial cooperation Society. 2016; 17(9): 589-598. [Internet]. [Cited in 16 October 2023]. Available from: https://koreascience.kr/article/JAKO201631261655361

สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม, วัลทณี นาคศรีสังข์, ปรียสลิล ไชยวุฒิ, สมคิด รูปงาม. ผลการจัดการเรียนการ สอน โดยการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลตามการ รับรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2021; 8(1): 30-46.

สุพิมล ขอผล, จินตวีร์พร แป้นแก้ว, ธณัชช์นรี สโรบล, เกศราภรณ์ ชูพันธ์, สุมิตรพร จอมจันทร์. การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflective Thinking) ในนักศึกษาพยาบาล. 2562; 46(1): 87-101.

Chan ZC. A systematic review of critical thinking in nursing education. Nurse education today. 2013; 33(3); 236-240. [Internet]. [Cited in 16 October 2023]. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0260691713000087

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13