The effectiveness and satisfaction of using colour-coded labelling rings for identification of anesthetic medical syringes in Phichit Hospital
Main Article Content
Abstract
Background: Anesthesia involves frequently injection of potent intravenous drugs. These drugs are often prepared and drawn up in syringes some time before they are to be used. The potential of a wrong drug being given because of syringe swap or wrong dilution of drugs is a real possibility. The addition of colour-code to a label is thought to be an additional visual for choosing the right syringe. But, the disadvantage is frequently slip off from syringe swap. Thus, the applicated colour-coded labelling rings for identified anesthetic medical syringes can resolve these problem and increase convenient. The recycling of material is reduced the expenditure and generate usefulness.
Objectives: To evaluate the effectiveness and satisfaction of using applicated colour-coded labelling rings for identified anesthetic medical syringes. Methods: The step of investigation was devided into 2 parts. First part was the step of applicated colour-coded labelling rings invention. Second part was the evaluation step by using questionnaire responded by anesthesia personnel who have used applicated colour-coded labelling rings. The respondents were asked to evaluate all 5 aspects namely; 1) usefulness 2) convenience 3) stability 4) clearness 5) overall satisfaction. The evaluating scales included the followings: 4 = excellent, 3 = good, 2 = fair, 1 = poor. The target of the effectiveness and satisfaction scores was at least 90% (3.6).
Results: The average score for all aspects were more than 90% (3.65-3.91). The highest score was usefulness (3.91). The lowest score was stability (3.65).
Conclusion: The effectiveness and satisfaction of using applicated colour-coded labelling rings for identified anesthetic medical syringes were high (> 90%).
ประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อการประยุกต์วงแหวนแถบสีเพื่อใช้ระบุกระบอกฉีดยาทางวิสัญญีในโรงพยาบาลพิจิตร
บทนำ: งานวิสัญญีมีความเกี่ยวข้องในการใช้ยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำอยู่เป็นประจำ และยามักจะ ถูกเตรียมและดูดไว้ในกระบอกฉีดยาก่อนเพื่อการพร้อมใช้ ทำให้มีโอกาสผิดพลาดจากการติดสลากยาและ การเตรียมความเข้มข้นของยาได้ การใช้สติกเกอร์แถบสีเพื่อช่วยแยกยาแต่ละกลุ่มทำให้การมองหาและเลือก ชนิดยาได้ถูกต้องและแม่นยำขึ้น แต่มีข้อเสียคือการหลุดง่ายของสติกเกอร์แถบสี ดังนั้นการประยุกต์วงแหวน แถบสี เพื่อใช้ระบุกระบอกฉีดยาทางวิสัญญีสามารถแก้ปัญหาการหลุดง่ายของสติกเกอร์แถบสี และเพิ่มความ สะดวกรวดเร็วในการเลือกใช้ยาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ การนำวัสดุที่เหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากเป็นการ ลดค่าใช้จ่ายแล้วเป็นการประยุกต์ที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผล และความพึงพอใจของบุคลากรวิสัญญีต่อการประยุกต์วงแหวนแถบสีเพื่อใช้ระบุกระบอกฉีดยาทางวิสัญญี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการประดิษฐ์ และการประเมินผล โดยใช้แบบสอบถามประเมินโดยบุคลากรทางวิสัญญี 5 หัวข้อ ได้แก่ 1) การนำวัสดุที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ 2) ความสะดวกในการใช้งาน 3) ความแข็งแรง 4) การสังเกตสีและชื่อยา 5) ความพึงพอใจโดยรวม โดยให้คะแนน ดังนี้ 4= ดีมาก, 3 = ดี, 2 = ปานกลาง, 1 = ปรับปรุง เป้าหมายคือ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยในทุกหัวข้อ อย่างน้อย 90% (3.6)
ผลการศึกษา: ผู้ประเมินให้คะแนนเฉลี่ยในทุกหัวข้อ มากกว่า 90% (3.65-3.91) หัวข้อที่ได้คะแนนมาก ที่สุดคือ การใช้วัสดุที่เหลือใช้ (3.9) ส่วนหัวข้อความแข็งแรงได้คะแนนน้อยที่สุด (3.65)
สรุป: ผลการประเมิน ประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อการประยุกต์วงแหวนแถบสี เพื่อใช้ระบุกระบอกฉีดยาทางวิสัญญี พบว่า อยู่ในเกณฑ์ดีมาก (> 90%)