The effect of fluid bolusing to venous diameter of proximal arm vein

Main Article Content

Amorn Vijitpavan
Kesinee Huanraluek
Wannidaporn Ninraina
Siriwan Sripunjan

Abstract

Background: Peripheral arm vein is one of the commonly used for approaching the central vein. The success rate depends on the venous size. The aim of this study was to determine whether peripheral arm veins can be dilated by fluid bolusing from the distal part of the same extremity.

Method: Experimental study in fifty patients presenting in Ramathibodi hospital came for elective surgery. All patients in the study group were placed the intravenous line at the dorsal part of the hand. The tourniquet was applied at the proximal part of the arm and the ultrasound probe was placed at mid arm to measure the transverse diameter of basilic and deep brachial vein. We recorded the transverse diameter of both veins before and after bolusing 10 ml of 0.9% NaCl until completed in 50 ml.

Results: The mean transverse diameter of basilic and brachial vein were 0.356 and 0.410 cm respectively. The venous diameter was increased significantly each time after 10 ml of 0.9% NaCl was given (p-value < 0.05). The maximal changes of the venous size occurred after the second 0.9% NaCl injection was bolused. The changing rates of venous diameter were decreased consequently after 20 ml of 0.9% NaCl injection.

Conclusion: Fluid bolus from the distal forearm can increase the cross-sectional area of the basilic and brachial vein significantly.


ผลของการให้สารน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของหลอดเลือดดำที่ต้นแขน

บทนำ: การทำหัตถการเกี่ยวกับการแทงหลอดเลือดดำ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จคือขนาดของ หลอดเลือด ซึ่งหากหลอดเลือดมีขนาดใหญ่กว่าเข็มที่ใช้ในการแทงหรือสายที่ใช้สอดใส่ โอกาสที่จะประสบ ความสำเร็จก็จะสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะตำแหน่งของหลอดเลือดบริเวณข้อพับแขนซึ่งนิยมใช้เพื่อการใส่สาย สวนผ่านทางหลอดเลือดดำเข้าสู่หลอดเลือดดำส่วนกลาง (Peripheral inserted central venous catheter, PICC) แต่เนื่องจากหลอดเลือดบริเวณดังกล่าวมีขนาดที่เล็กเมื่อเทียบกับหลอดเลือดบริเวณคอ (internal jugular vein) และบริเวณหน้าอก (subclavian vein) ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาถึงวิธีการที่จะเพิ่มขนาดของหลอดเลือดดำ บริเวณต้นแขนด้วยวิธีการใช้สารน้ำขยายหลอดเลือดดำให้ใหญ่ขึ้น

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นแบบ experimental study ศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 50 ราย ผู้ป่วยทุกราย จะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายที่มือ หลังจากนั้นทำการรัดบริเวณเหนือข้อพับแขนแล้วใช้เครื่อง อัลตร้าซาวด์ (ultrasound) วัดขนาดหลอดเลือดดำที่บริเวณเหนือข้อพับแขน ก่อนให้สารน้ำและหลังจากให้สาร น้ำทุกครั้ง ครั้งละ 10 มล. จนครบ 50 มล. แล้ววัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดที่เปลี่ยนแปลง ไป

ผลการวิจัย: การให้สารน้ำครั้งละ 10 มล. จำนวน 5 ครั้ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำของ ผู้ป่วยมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pน้อยกว่า0.05) ในทุกครั้งที่ให้สารน้ำ โดยพบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากที่สุดในการให้สารน้ำครั้งที่ 1 และ 2 (0.02 และ 0.016 ซม. ตามลำดับ; p < 0.05) หลังจากนั้นการเพิ่มขึ้นของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเริ่มน้อยลงเมื่อให้สารน้ำครั้งที่ 3, 4 และ 5

สรุปผลการวิจัย: การให้สารน้ำบริเวณปลายมือสามารถเพิ่มขนาดของหลอดเลือดดำที่บริเวณต้นแขนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปริมาณสารน้ำที่ใช้เพียง 20 มล. สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดหลอดเลือดได้สูงสุด

Article Details

Section
Original articles