Preoperative blood preparing for elective spine surgery: ratio of actual usage, expense and appropriate use of resources

Main Article Content

Sujettna Poomsawat
Montira Jitjuk
Waraporn Chau-in
Aumjit Wittayapairoj
Kriangkrai Wittayapairoj

Abstract

Background: An appropriate preoperative blood prepare is necessary for reducing cost and blood bank workforce. The report from our central blood bank since May 2010 to April 2011 demonstrated an excessive cross-match to transfusion ratio (C/T ratio). Aside from the costly waste of unused blood 6,152,274 baths, there also leading to waste the resources and increase blood bank workload.

Objective: Toevaluate to efficiency of blood usage and determine the appropriate amount of blood preparing in elective spine surgery in our hospital

Methods: All elective spine operations from January to December 2011 were recruited retrospectively using an electronic management information system of Srinagarind hospital. Preoperative cross-match and intraoperative to postoperative 24 hours transfusion data were collected. for each patient were collected from the medical and anesthetic records. Cost for blood preparing process and the efficiency of blood usage, cross-match to transfusion ratio (C/T ratio), transfusion probability (%T) and transfusion index (Ti) were calculated.

Results: There were 231 spine operations met our criteria. Cross-matching was done in 221 cases, for the total of 355 units. 33 patients required transfusion and 74 units of blood were used. The total expense for preoperative blood preparation was 95,850 baht, while the expense of the actual transfused blood was 19,980 baht. The C/T ratio was 4.8. Transfusion probability (%T) and transfusion index (Ti) were 14.9 and 0.3 respectively.

Conclusion: This study reveals excessive blood preparing for elective spine surgery in our hospital. Cross-matching protocol should be done for only major spine operations e.g. laminectomy with posterior instrumentation or spinal tumor resection which trend to receive more than 2 unit of blood. For saving cost, decrease blood bank and increase the efficiency of blood usage, type and screen protocol should be applied for blood preparing in other spine procedure e.g. laminectomy, discectomy, c-spine decompression and spine biopsy.


การเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลังกรณีไม่เร่งด่วน: สัดส่วนการใช้จริงค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร

บทนำ: การเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดในปริมาณที่เหมาะสมมีความสำคัญ เพราะสามารถลดค่าใช้จ่าย และภาระงานของบุคคลกรที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการเตรียมเลือดได้ จากรายงาน 12 เดือน (พ.ค. 2554-เม.ย. 2555) ของหน่วยคลังเลือดกลาง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบอัตราการเตรียมเลือดต่ออัตราการใช้เลือด สูงกว่าค่ามาตรฐาน มีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเตรียมเลือดแต่ไม่ได้ใช้เป็นเงิน 6,152,274 บาท เกิดการสูญเสีย ทรัพยากรและเพิ่มภาระงานบุคลากรคลังเลือดในขั้นตอนการเตรียมเลือด

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความ คุ้มค่าและหาปริมาณการเตรียมเลือดที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลังกรณีไม่เร่งด่วนของโรงพยาบาล ศรีนครินทร์

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังเก็บข้อมูลการเตรียมเลือดและใช้เลือดจริง ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังกรณีไม่เร่งด่วน ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2554 โดยนำข้อมูลการเตรียมเลือดและการใช้เลือดจริงในระหว่างผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง มาคำนวณหาค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดและคำนวณดัชนีชี้วัดความคุ้มค่าในการใช้เลือด ซึ่งประกอบด้วย ค่า C/T ratio, Transfusion probability (%T) และ Transfusion index (Ti)

ผลการศึกษา: ในระยะเวลาทำการ ศึกษา มีผู้ป่วยรับการผ่าตัดกระดูกสันหลังกรณีไม่เร่งด่วนจำนวน 231 ราย มีการเตรียมเลือดสำหรับผ่าตัด ในผู้ป่วย 221 ราย (ร้อยละ 95.7) จำนวนทั้งหมด 355 ยูนิต มีการใช้เลือดจริงในผู้ป่วย 33 ราย จำนวน 74 ยูนิต ค่าใช้จ่ายที่ เกิดจากขั้นตอนการเตรียมเลือดทั้งหมด 95,850 บาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเตรียมเลือดที่ใช้จริง 19,980 บาท ค่า C/T ratio เท่ากับ 4.8 ค่า %T และค่า Ti เท่ากับ 14.9, 0.3 ตามลำดับ

รุป: มีการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัด กระดูกสันหลังกรณีไม่เร่งด่วนในรพ.ศรีนครินทร์มากเกินความจำเป็น ในการผ่าตัดใหญ่ที่มีโอกาสเสียเลือดมาก และคาดว่าจะต้องได้รับเลือดมากกว่า 2 ยูนิตขึ้นไป เช่น laminectomy with posterior instrumentation และ spine tumor ควรใช้วิธี cross matching ในการเตรียมเลือด ส่วนการผ่าตัดกระดูกสันหลังอื่นๆ เช่น laminectomy, c-spine decompression, spine biopsyและ discectomy ที่มีโอกาสได้รับเลือดน้อย แนะนำให้เตรียมเลือดด้วยวิธี type and screen จะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากขั้นตอนการเตรียมเลือด ลดภาระงานของบุคลากรและสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้เลือดได้

Article Details

Section
Original articles