Gabapentin as an Adjuvant Analgesic with Opioids for the Management of Metastatic Bone Pain: Randomized, Double - Blind, Placebo - Controlled Crossover Trial

Main Article Content

Jatuporn Thonsontia
Waraporn Waikakul
Wantakan Wongwikrom
Khrongkamol Sihaban

Abstract

Background: Bone metastasis usually causes severe pain in cancer patients. The solely use of opioid may be inadequate or exert intolerable side effects. Experts suggested the use of analgesic adjuvants. However, gabapentinoids; anticonvulsants used to treat neuropathic pain, are frequently added to the pain control regimen. There is no evidence that gabapentin is useful in controlling pain due to bone metastasis.

Objectives: To assess the analgesic efficacy and side effects of gabapentin 900 mg/day compared with placebo as add-on therapy to opioids in patients with metastatic bone pain.

Methods: The study is a randomized, double-blinded, fix - dose, placebo-controlled crossover trial. Thirty - two patients, who were on stable dose of opioids for the treatment of metastatic bone pain, were randomly allocated into 2 treatment groups, 16 each. Patients in each group received 2 treatment periods with 4 - day washout in between; 10 days for gabapentin or matching placebo and reciprocal. The subjects took either gabapentin 900 mg/day or placebo in identical pattern. Overall time was 24 days during the double-blind treatment period. The subjects were contacted by phone on day 2, 4, 8, 16, 18 and 22 following a dose adjustment to assess compliance and tolerability. The subjects were followed up at clinic on day 1, 15 and 25. Outcome comparisons were; average pain score reduction on day 1 and day 8 of each period, percentage of patients who have average pain score reduction ≥ 3, amount of rescue analgesic and side effects.

Results: Of the 32 patients enrolled, 30 patients received gabapentin and 26 patients received placebo. Analysis of covariance (ANCOVA) on the intention-to-treat basis showed no significant difference in average pain score reduction between gabapentin and placebo group; 2.77 ± 2.10 vs 2.46 ± 1.25, (p = 0.533). Percentage of patients who had average pain score reduction ≥ 3 during follow-up days were not different (53.23 ± 2.81 vs 47.44 ± 3.53), p = 0.586. Rescue medication for breakthrough pain was not different (p = 0.607). Finally, incidence of side effects; sedation, dizziness, nausea, vomiting and constipation, were not different.

Conclusions: Adding gabapentin to opioid analgesic did not accentuate efficacy of opioids in relieving pain in metastatic bone pain patient.

 

ผลของ Gabapentin เสริมกับ Opioids ในการระงับปวดจากมะเร็งแพร่กระจายมากระดูก การศึกษาแบบไขว้กัน

ที่มาและเหตุผล: มะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกมักทำให้ผู้ป่วยมีความปวดรุนแรง ซึ่งการระงับปวดด้วยยากลุ่มโอปิออยด์อาจไม่พียงพอ หรือมีฤทธิ์ข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ใช้ยาเสริม อย่างไรก็ตามมักมีผู้นิยมใช้ยากาบาเพ็นตินอยด์ซึ่งเป็นยาระงับปวดประสาท แม้ว่าจะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายากลุ่มนี้มีประโยชน์จริงสำหรับปวดจากมะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูก

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการระงับปวดและผลข้างเคียงของยา gabapentin 900 mg/วัน ที่ให้ร่วมกับยา opioids ในการระงับปวดจากภาวะมะเร็งแพร่กระจายมากระดูกที่มีความปวดระดับปานกลางถึงปวดมาก

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไขว้โดยมีกลุ่มควบคุมและสุ่มผู้ป่วย โดยใช้ขนาดยาคงที่ ศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะมะเร็งแพร่กระจายมากระดูกจำนวน 32 คน ทุกรายได้รับยาโอปิออย์จนกระทั่งขนาดยาคงที่ แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม gabapentin และ placebo โดยการสุ่ม, กลุ่มละ 16 คน แต่ละกลุ่มได้รับยา 2 ช่วง ช่วงละ 10 วัน ระยะพัก 4 วัน แล้วสลับยาที่ศึกษาในขนาดและวิธีเดียวกัน กลุ่มศึกษาได้รับกาบาเพ็นติน 900 มก/วัน กลุ่มควบคุมได้รับยาหลอก รวมเวลาศึกษาทั้งสิ้น 24 วัน ประเมินว่าผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการวิจัยและปัญหาที่เกิดจากยาโดยทางโทรศัพท์ในวันที่ 2, 4, 8, 16, 18 และ 22 ประเมินที่ห้องตรวจในโรงพยาบาลวันที่ 1, 15, และ 25 สิ่งที่ประเมินคือ ค่าเฉลี่ยคะแนนปวดที่ลดลงในวันที่ 1 เทียบกับ 8 ของแต่ละช่วงการศึกษา, ร้อยละของผู้ป่วยที่มีคะแนนปวดเฉลี่ยที่ลดลง >3 จำนวนยาโอปิออย์ที่ผู้ป่วยต้องรับเสริม และภาวะแทรกซ้อน

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 30 รายได้รับกาบาเพ็นติน และ 26 รายได้รับยาหลอก ค่าเฉลี่ยคะแนนปวดที่ลดลงของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มกาบาเพ็นติน 2.77 ± 2.10 และกลุ่มยาหลอก 2.46 ± 1.25, (p = 0.533) ผู้ป่วยที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนปวดที่ลดลง > 3 ร้อยละ 53.23 ± 2.81 และ 47.44 ± 3.53), p = 0.586 ปริมาณยาแก้ปวดเสริมไม่ต่างกัน p = 0.607 ภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้แก่ ง่วง มึนงง คลื่นไส้อาเจียน และท้องผูก ไม่ต่างกัน

สรุป: การใช้กาบาเพ็นตินเสริมไม่ได้เพิ่มผลระงับปวดจากโอปิออยด์ในผู้ป่วยปวดจากภาวะมะเร็งแพร่กระจายมากระดูก

Article Details

Section
Original articles