Ultrasound - Guided Lower Extremity Nerve Blocks: A Review of Techniques and Approaches

Main Article Content

Vanlapa Arnuntasupakul
Wallaya Techasuk
Roderick J. Finlayson
De Q. H.

Abstract

Background: The ongoing enthusiasm for ultrasound (US)-guided lower extremity (LE) nerve blocks has spawned a multiplicity of divergent methods. Accordingly, a literature search of level 1 evidence (randomized trials) was undertaken to determine the optimal approaches and techniques for US-guided lower extremity nerve blocks.

Objectives: To review the evidence from randomized  controlled trials (RCTs) pertaining to approaches and techniques for US-guided LE nerve blocks.

Methods: The MEDLINE, EMBASE, and PUBMED databases were searched by using the keywords: lumbar plexus, psoas compartment, psoas sheath, fascia iliaca, three-in-one, 3-in-1, femoral nerve, obturator nerve, saphenous nerve, adductor canal, lateral femoral cutaneous nerve, lumbosacral plexus, sacral plexus, sciatic nerve, common peroneal nerve, tibial nerve, popliteal, popliteal sciatic. These keywords were then combined with block, nerve block, ultrasound, and ultrasound-guided. The search was limited to RCTs involving human subjects and published in the English language.

Results: The search criteria yielded 8 RCTs and 14 RCTs pertaining to nerves of the lumbar plexus and sacral plexus, respectively. The average sample size was 63 subjects. Most trials provided sample size justification, blinded assessment and Jadad scores 3.Based on the available evidence, all methods for US-guided femoral catheter insertion result in similar efficacy However, the short axis technique requires a shorter performance time. Compared to its nerve-targeting counterpart, the subinguinal technique for lateral femoral cutaneous nerve block provides a markedly higher success rate. All approaches for saphenous nerve block yield comparable efficacy However, proximal methods may be associated with a higher incidence of vastus medialis muscle weakness.  Anterior and posterior subgluteal sciatic nerve blocks provide similar success rates but only the anterior approach can be carried out with the patient in a supine position. Circumferential deposition of local anesthetic should be preferred to a punctual injection for both the subgluteal and popliteal sciatic nerve. Compared to a popliteal sciatic block proximal to the neural bifurcation, targeted tibial and peroneal nerve blocks provide a higher success rate. Although recent evidence suggests that subparaneural injection may constitute the best technique for US-guided popliteal block, further trials are required to assess its safety.

Conclusion: Published reports of RCTs provide evidence to formulate limited recommendations regarding optimal approaches and techniques for US-guided LE nerve blocks. Further well-designed and meticulously executed RCTs are warranted.


การสกัดกั้นเส้นประสาทของขาโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทาง: ทบทวนเทคนิคและวิธีในการเข้าหาเส้นประสาท

บทนำ: ความนิยมในการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทางในการสกัดกั้นเส้นประสาทของขาทำให้มีวิธีปฏิบัติหลากหลายในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลนี้ผู้เขียนจึงทำการทบทวนข้อมูลงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อกำหนดวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทางในการสกัดกั้นเส้นประสาทของขา ทั้งในด้านการเข้าหาเส้นประสาทและเทคนิคในการสกัดกั้นเส้นประสาท

วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์จากการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทางทั้งด้านการเข้าหาเส้นประสาทและเทคนิคในการสกัดกั้นเส้นประสาท

วิธีการศึกษา: สืบค้นจากงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มในฐานข้อมูล MEDLINE, EMBASE และ PUBMED โดยใช้คำหลักดังนี้ lumbar plexus, psoas compartment, psoas sheath, fascia iliaca, three-in-one, 3-in-1, femoral nerve, obturator nerve, saphenous nerve, adductor canal, lateral femoral cutaneous nerve, lumbosacral plexus, sacral plexus, sciatic nerve, common peroneal nerve, tibial nerve, popliteal และ popliteal sciatic นำมาเชื่อมโยงกับคำหลัก block, nerve block, ultrasound และ ultrasound-guided จำกัดเฉพาะงานวิจัยที่เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่ทำการศึกษาในมนุษย์ และมีบทความฉบับเต็มตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ

ผลการศึกษา: มีงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มจำนวน 8 และ 14 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสกัดกั้นเส้นประสาทจากข่ายประสาทส่วนเอวและข่ายประสาทใต้กระเบนเหน็บตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 63 คน งานวิจัยส่วนมากมีการคำนวณขนาดตัวอย่างในการศึกษา มีการประเมินผลการศึกษาโดยผู้ประเมินซึ่งไม่ทราบการแบ่งกลุ่ม และมีค่าคะแนน Jadad อย่างน้อย 3 คะแนนทุกวิธีสำหรับการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทางในการวางสายสำหรับบริหารยาชาต่อเนื่องของเส้นประสาท femoral มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน แต่เทคนิคการมองภาพเส้นประสาทแบบตัดขวางใช้เวลาในการทำหัตถการสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบการวางเป้าหมายที่เส้นประสาท เทคนิคการฉีดยาใต้เอ็นขาหนีบเพื่อสกัดกั้นเส้นประสาท lateral femoral cutaneous มีอัตราสำเร็จสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ทุกวิธีในการสกัดกั้นเส้นประสาท saphenous ให้ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่การสกัดกั้นเส้นประสาทในระดับต้น มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ vastus medialis สูงขึ้น การเข้าหาเส้นประสาท sciatic ทั้งทางด้านหน้าและด้านหลังมีอัตราสำเร็จใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามการเข้าหาเส้นประสาทจากทางด้านหน้าสามารถทำได้ในผู้ป่วยท่านอนหงาย การฉีดยาให้ล้อมรอบเส้นประสาทเป็นวิธีที่ดีกว่าการฉีดยาเพียงตำแหน่งเดียวสำหรับการสกัดกั้นเส้นประสาท sciatic ในระดับใต้แก้มก้นและข้อพับเข่า เมื่อเปรียบเทียบกับการสกัดกั้นเส้นประสาท sciatic ในตำแหน่งก่อนการแตกแขนง การสกัดกั้นที่ตำแหน่งเส้นประสาท tibial และ peroneal ให้อัตราสำเร็จสูงกว่า แม้ว่ามีหลักฐานล่าสุดแนะนำการฉีดยาใต้ชั้น paraneurium เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทางในการสกัดกั้นเส้นประสาท sciatic ระดับข้อพับเข่า คงยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในด้านของความปลอดภัย

สรุป: จากหลักฐานงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่ตีพิมพ์ในปัจจุบันยังคงมีข้อจำกัดในการกำหนดแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับวิธีการเข้าหาเส้นประสาทและเทคนิคการสกัดกั้นเส้นประสาทของขาโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทาง ผู้เขียนจึงสนับสนุนให้มีการศึกษาที่มีคุณภาพในประเด็นนี้ต่อไป

Article Details

Section
Review articles