Perioperative Goal Directed Therapy (PGDT)

Main Article Content

Chawika Pisitsak

Abstract

Banckground: Currently, there are trends to optimize hemodynamics during anesthesia with the specific goal, or called it “goal directed therapy”.

Objective: Perioperative goal directed therapy (PGDT) has been proved to be beneficial to patients during perioperative period.

Method: PGDT can reduce mortality and other complications including length of hospital stay in high risk patients.

Result: PGDT is advantageous because the metabolism is changed during the perioperative period.

Conclusion: The increment of oxygen consumption that mismatch with oxygen delivery cause tissue hypoxia leading to death. Therefore, the specific goals that lead to the prevention of tissue hypoxia is proved to be useful during the operation. Goals to be optimized are selected by the anesthesiologists and the available resources such as cardiac output, oxygen delivery, oxygen consumption, preload assessment, lactate and venous oxygen saturation. We arrange the fluid infusion, blood products, vasopressors and inotropes in order to reach the goals. The extension of the duration of PGDT depends on the postoperative care which is supported by the intensivists and ICUs.

 

การรักษาตามเป้าหมายระหว่างผ่าตัด

บทนำ: ปัจจุบันการให้การระงับความรู้สึกโดยวิสัญญีแพทย์และพยาบาล มีความจำเป็นต้องดูแลระบบไหลเวียนเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติควบคู่กันไปด้วย อย่างไรก็ตาม

วิธีการศึกษา: ในอดีตมีการกำหนดปริมาณการให้สารน้ำอย่างเฉพาะเจาะจง โดยไม่มีการตรวจติดตามการตอบสนองของผู้ป่วยโดยเฉพาะในระดับเนื้อเยื่อว่ามีการขาดออกซิเจนหรือไม่ ซึ่งการขาดออกซิเจนในระดับเนื้อเยื่อพบว่ามีความสัมพันธ์กับอัตราตายที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยมีภาวะการใช้ออกซิเจนที่สูงกว่าปกติด้วย ดังนั้นภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนระหว่างผ่าตัดจึงมีโอกาสเกิดได้สูงขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาการดูแลรักษาระบบไหลเวียนเลือดของผู้ป่วยระหว่างผ่าตัดโดยกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน และให้การรักษาให้ได้ตามเป้าหมายนั้นตลอดการผ่าตัดจนถึงช่วงหลังผ่าตัด

ผลการศึกษา: พบว่าการดูแลผู้ป่วยด้วยวิธีนี้สามารถลดอัตราตายในผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีความเสี่ยงสูงได้ อีกทั้งยังลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงระยะเวลาการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกด้วย

สรุป: โดยเป้าหมายที่กำหนดนั้นอาจเป็นปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจต่อนาที ปริมาณออกซิเจนที่ถูกขนส่งในเลือดแดง ปริมาณออกซิเจนที่ร่างกายนำไปใช้ ปริมาณสารน้ำในห้องหัวใจล่างซ้ายขณะคลายตัวเต็มที่ ค่าแลคเตท และ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดดำ โดยจะมีการบริหารการให้สารน้ำ เลือด รวมถึงยาตีบหลอดเลือดและยากระตุ้นหัวใจเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ระยะเวลาการทำการรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้ได้ตามเป้าหมายระหว่างผ่าตัดอาจต่อเนื่องจนถึงช่วงหลังผ่าตัดซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทีมหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตต่อไป

Article Details

Section
Original articles