Clinical Practice Guideline for Bronchospasm Management Among Patients Undergoing General Anesthesia with Intubation at Sanpatong Hospital
Main Article Content
Abstract
Background: Bronchospasm during general anesthesia can present a most life threatening complication. Suspected bronchospasm should be assessed and treated promptly. Objective: The purpose of this study is to develop the clinical practice guideline for bronchospasm management among patients undergoing general anesthesia with intubation. Methods: The process for developing the guideline utilized the framework from the National Institute for Clinical Excellence (NICE) and reviewed literature. Results: This guideline consisted of 24 components in 3 phases of operation 1. Pre - operative phase 2. Peri - operative phase 3. Post - operative phase. Conclusion: The guideline can be used to manage bronchospasm among the anesthetic care team in Sanpatong hospital.
แนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันและการจัดการ ภาวะหลอดลมหดเกร็งในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก ทั่วไปชนิดใส่ท่อช่วยหายใจ ในโรงพยาบาลสันป่าตอง
บทนำ: ภาวะหลอดลมหดเกร็งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยระหว่างให้ยาระงับความรู้สึก และเป็นภาวะ คุกคามขั้นรุนแรงถึงชีวิต (life threatening complication) ที่จำเป็นต้องให้การวินิจฉัย และการรักษาแก่ผู้ป่วย ทันที การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันและจัดการภาวะหลอดลมหดเกร็งใน ผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดใส่ท่อช่วยหายใจ และเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดลมหดเกร็ง วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา (developmental study) กระบวนการพัฒนาได้ประยุกต์ ตามขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ของสถาบันเพื่อความเป็นเลิศทาง คลินิกแห่งชาติ ผลการศึกษา: พบว่าแนวทางการปฏิบัติ มีทั้งหมด 24 องค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1. ระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึก (pre - operative phase) 2. ระยะให้ยาระงับความรู้สึก (Intra -operative phase) 3. ระยะหลังให้ยาระงับความรู้สึก (post - operative phase) สรุป: แนวทางการปฏิบัติมีความเป็นไปได้ในการนำ ไปใช้ ในการจัดการภาวะหลอดลมหดเกร็งในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วไปชนิดใส่ท่อช่วยหายใจ และ เป็นที่ยอมรับจากทีมวิสัญญีโรงพยาบาลสันป่าตอง