Attitudes to Pain and Pain Management in Post General Anesthesia Patients Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Main Article Content

Wanida Sodsee
Wichai Ittichaikulthol
Kanokporn Kunawisarut

Abstract

Background: It is apparent that pain occurs inevitably in post - operative patients. Physical and mental suffering from pain affects tremendously both the patients and their relatives. At present, it is essential that pain assessment be implemented and recorded in addition to temperature, respiration, pulse and blood pressure. Adequate post operative pain relief is considered a patient’s right. Poor postoperative pain control has adverse physical and psychological effect.

Objective: To study the attitudes to pain and pain management in post general anesthesia patients in the Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital. Its purpose is to make the pain management effective and also to be a part to strengthen the development of hospital service quality.

Methods: Prospective observational study design was used to collect data in 120 patients in Ramathibodi Hospital during June to July 2011. The 120 questionnaires about patients’ knowledge and attitude were asked in elective surgical and obstetric patients.

Results: Almost all of the patients understood and were unafraid to express their pain. They additionally realized the importance of pain relief and also relied on their pain management provider, but conversely, the patients’ knowledge of pain management methods and techniques needed to be improved.

Conclusions: The patients have good attitudes to postoperative pain management, but they still needed to learn more about pain management methods and techniques to help produce more quality.

 

ทัศนคติต่อความปวดและการบำ บัดความปวดของผู้ป่วยที่มารับการ ระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ: ดังที่ทราบกันดีว่าความปวดนั้นเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ความทุกข์ทรมาน ทางร่างกายและจิตใจจากความปวดนั้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งผู้ป่วยและญาติใกล้ชิด ในปัจจุบันนั้นมีความ จำเป็นที่วิธีการประเมินความปวดจะต้องถูกนำมาใช้และถูกบันทึกไว้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการบันทึกอุณหภูมิ ร่างกาย การหายใจ ชีพจร และความดันเลือด การได้รับการบำบัดความปวดหลังผ่าตัดอย่างเหมาะสมนั้นถือได้ ว่าเป็นสิทธิของผู้ป่วย การควบคุมความปวดหลังผ่าตัดที่ไม่ดีนั้นย่อมก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อ ผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาทัศนคติต่อความปวดหลังผ่าตัดและ วิธีการบำบัด ความปวดของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการความปวดมีประสิทธิภาพ และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย เสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลอีกด้วย

วิธีวิจัย: การศึกษานี้ใช้วิธีการสังเกตการณ์ แบบไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติต่อความปวดและ การบำบัดความปวดหลังผ่าตัดจำนวน 120 ชุด ในผู้ป่วยที่มาเข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมและสูติกรรมแบบ elective case ในโรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เดือน มิ.ย. - ก.ค. 2554

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเข้าใจ เรื่องความปวดและมีการแสดงออกถึงความปวดได้ดี นอกจากนั้นผู้ป่วยยังมีความตระหนักถึงความจำเป็น ของการบำบัดความปวด ประกอบกับมีความเชื่อมั่น และยอมรับในบทบาทของบุคลากรที่บำบัดความปวดอีก ด้วย แต่ในทางกลับกัน ความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับชนิดและวิธีการบำบัดความปวดยังคงต้องได้รับการปรับปรุง

สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยมีทัศนคติที่ดีต่อการบำบัดความปวดหลังผ่าตัด แต่ยังต้องการการ เรียนรู้เรื่องวิธีและเทคนิคการบำบัดความปวดมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพให้แก่การบำบัดความปวด

Article Details

Section
Original articles