Development of Performance Skill Assessment for Open Airway with Bag Mask Ventilation by Nurse Anesthetist Students
Main Article Content
Abstract
Background: The purposes of this study were 1) to develop a performance assessment form for open airway and bag mask ventilation by nurse anesthetist students. 2) to assess the quality of the developed performance assessment form for open airway and bag mask ventilation.
Methods: The sample selected by using a purposive sampling consisted of 35 nurse anesthetist students of the Faculty of Medicine Siriraj Hospital in the 2011 academic year. The instruments consisted of (1) A performance assessment form for open airway and bag mask ventilation by nurse anesthetist students and (2) A cognitive test about open airway and bag mask ventilation performance. The statistics used included percent, standard deviation, Pearson correlation coefficient and t - test.
Results: The content validity of the open airway with bag mask ventilation performance assessment form as measured by the index of congruency ranged from 0.86 to 1.00. The relationship between achievement scores on the open airway and bag mask cognitive test and the scores on performance assessment form for open airway and bag mask ventilation was 0.035 (t = 0.841). However, after 6 months of training, the correlation increased to 0.363 (t = 0.032), which indicated acceptable convergence validity. The discriminant validity as measured by correlating an obstetric test score with performance assessment of open airway and bag mask ventilation was - 0.009, (t = 0.960). The construct validity as measured by the known case group technique found that the high ability group had significantly higher performance assessment scores than the lower group (t = - 4.407, p < 0.01). The test - retest reliability was 0.921 (p < 0.01). The interrater reliability obtained by correlating scores of two raters was 0.975 (p < 0.01).
Conclusions: This study demonstrates that the assessment form is an easy, reliable and effective tool for evaluation of the anesthetic nurse students’ performance skill on airway management with mask ventilation.
การพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล
บทนำ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล 2) ตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล
วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิสัญญีพยาบาลสังกัดคณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2553 จำนวน 35 คนซึ่งใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. แบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล 2. แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา: พบว่า แบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล มีดัชนีความสอดคล้องความตรงเชิงเนื้อหา ตั้งแต่0.86 - 1.00 ความตรงเชิงเหมือนซึ่งคำนวณจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทฤษฎีกับคะแนนปฏิบัติ เท่ากับ 0.035 (t = 0.841) หลังจากฝึกปฏิบัติผ่านไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน ค่าความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นเป็น 0.363 (t = 0.032) ความตรงเชิงจำแนกคำนวณจากความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของแบบทดสอบสูติศาสตร์กับคะแนนปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจมีค่าเท่ากับ - 0.009 (t = 0.960) ความตรงเชิงจำแนกโดยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด พบว่ากลุ่มเก่ง มีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินการปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มอ่อนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (t = 4.407, p < 0.01) ความเที่ยงของแบบประเมินโดยการวัดซํ้า พบว่า คะแนนการวัดครั้งที่ 1 สัมพันธ์กับคะแนนการวัดครั้งที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r = 0.921, t = 0.000) ความเที่ยงของการให้คะแนนโดยผู้ประเมิน 2 คน การให้คะแนนของผู้ประเมิน 2 คน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r = 0.975, t = 0.000)
สรุป: พบว่าแบบประเมินทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาลเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาได้จริง การประเมินมีความเป็นมาตรฐานและยุติธรรมเชื่อถือได้ รวมทั้งมีความเหมาะสมและสะดวกในการนำไปใช้