A comparative study of the effectiveness of 10% lidocaine spray at oropharyngolarynx plus tracheal tube cuff versus oropharyngolarynx alone in attenuation of the hemodynamic response during direct laryngoscopy and intubation in controlled hypertensive pat

Main Article Content

Yutthapon Panyakhamlerd
Piyamart Sirivararom
Nongluk Chaisen
Supasuta Turnprakiat

Abstract

Background: During induction of anesthesia, direct laryngoscopy and tracheal intubation is the most critical process of airway management for control ventilation and administration of inhalation anesthetics. But, the crucial response of hemodynamic to laryngoscopy and tracheal intubation can precipitate adverse cardiovascular events especially in patients with hypertensive disease. Many published studies supported the effectiveness of topical local anesthetic at oropharyngolarynx area in attenuation of hemodynamic responses but not spray at tracheal tube cuff. The purpose of this study is to compare the effectiveness of 10% lidocaine spray at oropharyngolarynx plus tracheal tube cuff versus oropharyngolarynx alone in attenuation of the hemodynamic response during direct laryngoscopy and tracheal intubation in controlled hypertensive patients.

Methods: This study is a prospective, double - blind, randomized controlled trial of 64 well - controlled hypertensive patients who were scheduled for elective surgery with general anesthesia. All patients were randomly allocated to 2 groups to receive either 10% lidocaine spray at oropharyngolarynx alone (Group SO, n = 32) or spray at oropharyngolarynx plus tracheal tube cuff (Group SOC, n = 32) during process of direct laryngoscopy and intubation. Systolic (SBP), diastolic (DBP), mean arterial pressure (MAP) and heart rate (HR) were measured before induction as baseline value, and 1, 2, 3, 4, 5, and 10 minutes after intubation.

Results: There were no differences in demographic data among groups. In both groups, there were significant difference in blood pressure (SBP, DBP, MAP) and HR at 1 and 2 minutes after intubation (p < 0.05). However, at 3, 4, 5, and 10 minutes after intubation, there were significant difference in DBP and MAP (p < 0.05), but there were no significant difference in SBP and HR. In SO group, there were significant difference in blood pressure (SBP, DBP, MAP) and HR compared with baseline values at 1 and 2 minutes after intubation. In SOC group, there were no significant difference in blood pressure and HR after intubation compared with baseline value.

Conclusion: The application of 10% lidocaine spray at both oropharyngolarynx and tracheal tube cuff has superior effect in attenuation of hemodynamic response to laryngoscopy and intubation than oropharyngolarynx alone.

 

การศึกษาประสิทธิภาพของยาชาเฉพาะที่ 10% lidocaine ชนิดพ่น ในการลดการตอบสนองของความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจจากการใส่ท่อหายใจ โดยเปรียบเทียบระหว่างการพ่นยาชาบริเวณคอหอยร่วมกับส่วนปลายท่อหายใจกับการพ่นยาชาบริเวณคอหอยเพียงตำ แหน่งเดียวในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทนำ: กระบวนการใส่ท่อหายใจทางหลอดลมในระยะนำสลบ สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง ของระบบประสาทซิมพาเตติกอย่างรุนแรง อาจมีผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดัน เลือดสูงเฉียบพลัน หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งเพิ่มอุบัติการณ์เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะหลอดเลือดสมองแตกได้โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น การใช้ยาชาเฉพาะที่มีผลลดการตอบสนองดังกล่าวได้ ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพของยาชาเฉพาะที่ชนิดพ่น ในการลดการตอบสนองของความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ โดยเปรียบเทียบระหว่างการพ่นบริเวณ oropharyngolarynx และ tracheal tube cuff กับกลุ่มที่พ่นยาชาเฉพาะ บริเวณ oropharyngolarynx เพียงตำแหน่งเดียว

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prospective, double blind, randomized controlled trial มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 64 คน เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุม ได้ดี มารับการผ่าตัดแบบไม่รีบด่วนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายร่วมกับการควบคุมการหายใจโดย การใส่ท่อหายใจทางหลอดลม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่บริเวณ oropharyngolarynx (SO) ก่อนใส่ท่อหลอดลม จำนวน 32 คน และกลุ่มที่ได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่บริเวณ oropharyngolarynx ร่วมกับบริเวณ tracheal tube cuff (SOC) จำนวน 32 คน โดยบันทึกความดันเลือด (SBP, DBP, MAP) และอัตรา การเต้นหัวใจ (HR) ที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 10 นาทีหลังใส่ท่อหายใจ

ผลการศึกษา: ลักษณะประชากรที่เข้าร่วมการ ศึกษาทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่ายาชาเฉพาะที่ชนิดพ่นมีผลลดการ ตอบสนองของความดันเลือดทั้ง SBP, DBP, MAP และ HR ของทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่ม SOC มีผลตั้งแต่นาที ที่ 1 ต่อเนื่องถึงนาทีที่ 3 ภายหลังใส่ท่อหายใจ และแตกต่างจากกลุ่ม SO อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

สรุป: การพ่นยาชาเฉพาะที่บริเวณ oropharyngolarynx ร่วมกับบริเวณ tracheal tube cuff มีผลลดการเพิ่มของ ความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจได้ดีกว่าและเร็วกว่าการพ่นยาชาเฉพาะที่บริเวณ oropharyngolarynx เพียงตำแหน่งเดียว

Article Details

Section
Original articles