Comparison study satisfaction score between patient-controlled sedation with propofol and anesthesiologist - administered midazolam for sedation during anal surgery after spinal anesthesia
Main Article Content
Abstract
Background: During spinal anesthesia for anorectal surgery, patients may have anxiety, and this may effect their anesthesia services satisfaction sedative drugs were given to reduce snxiety and improve patient satisfaction.
Objective: To compare patient satisfaction and anesthetic complications between patient - controlled sedation with propofol and anesthesiologist-administered การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่าง การบริหารยา propofol ที่ผู้ป่วยควบคุมการให้ยาเองกับยา midazolam ที่ให้โดยวิสัญญีแพทย์ เพื่อสงบประสาทระหว่างการผ่าตัดบริเวณทวารหนักภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง midazolam during anal surgery after spinal anesthesia.
Method: This was a prospective randomized control trial. We included patients who undergoing elective anorectal surgery under spinal anesthesia with 0.5% hyperbaric bupivacaine 7.5 mg in sitting position. We randomized into two groups. Patient-controlled sedation with propofol group received 10 mg of propofol then propofol 200 μg•kg–1 more every 1 minute thereafter by the patient him/herself. In the anesthesiologist-administered midazolam group, 0.5 mg of midazolam was given plus more 0.5 mg every 2 minutes until sedation score of > 3. We recorded: patient satisfaction; anxiety score; and complication.
Result: Thirty patients were included. Differences in patient satisfaction between groups were not statistically significant (i.e., 88.7% vs. 88.0% in the propofol vs. the midazolam group ( p> 0.05). Similarly, there was no significant difference between groups in the anxiety score after surgery and anesthetic complications (p > 0.05). We did, however, find one incident of hypotension in the propofol group and one of bradycardia in the midazolam group but overall there was no statistically significant difference between groups regarding complications.
Conclusion: Patient satisfaction for anesthesia service was high in both groups. They reduced patient anxiety without increasing complications.
การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่าง การบริหารยา propofol ที่ผู้ป่วยควบคุมการให้ยาเองกับยา midazolam ที่ให้โดยวิสัญญีแพทย์ เพื่อสงบประสาทระหว่างการผ่าตัดบริเวณทวารหนักภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง
บทนำ: การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังเพื่อผ่าตัดบริเวณทวารหนัก ผู้ป่วยอาจมีความกังวลซึ่งมีผลต่อ ความพึงพอใจต่อบริการทางวิสัญญี ยาสงบประสาทเป็นวิธีลดความกังวลซึ่งอาจช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการวิสัญญีและภาวะแทรกซ้อน ในการให้ยาสงบประสาทระหว่างการใช้ propofol ที่ผู้ป่วยควบคุมการให้ยาเองกับ midazolam ที่ให้โดย วิสัญญีแพทย์ในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังเพื่อผ่าตัดบริเวณทวารหนัก
วิธีการศึกษา: การศึกษา แบบ prospective randomized controlled trial ศึกษาในผู้ป่วยอายุ 15 - 65 ปี ซึ่งได้รับการฉีดยาชาทางช่องไขสันหลัง ในท่านั่งด้วยยา 0.5% hyperbaric bupivacaine 7.5 มก. เพื่อผ่าตัดบริเวณทวารหนัก ผู้ป่วยถูกแบ่งแบบสุ่มเป็นกลุ่ม propofol ที่ได้รับยา propofol แบบควบคุมการให้ยาด้วยตนเองโดยได้รับยา 10 มก. จากนั้นได้รับยา 0.2 มก./กก. ตามความต้องการทุก 1 นาที และกลุ่ม midazolam ได้รับยาครั้งละ 0.5 มก.ทุก 2 นาที จนง่วงซึม (sedation score > 3) จากนั้นบันทึกค่าความพึงพอใจต่อบริการวิสัญญี ความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ผลการศึกษา: มีผู้ร่วมการวิจัย 30 คน ความพึงพอใจในการบริการวิสัญญีทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่ม propofol ร้อยละ 88.7 และกลุ่ม midazolam ร้อยละ 88.0 (p > 0.05)) โดยที่ความ วิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ในกลุ่ม propofol พบ ผู้ป่วย 1 ราย ที่มีความดันเลือดตก และกลุ่ม midazolam ที่มีผู้ป่วย 1 รายที่มีหัวใจเต้นช้า
สรุป: การสงบประสาททั้งสองวิธีทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการบริการวิสัญญีสูง ลดความวิตกกังวล โดยไม่เพิ่มภาวะแทรกซ้อน โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ