Comparison of expenditure, side effect and satisfaction of total intravenous anesthesia, spinal anesthesia and epidural anesthesia in postpartum tubal ligation

Main Article Content

บุษกร รักสวย
สุชัย อนันตวนิชกิจ
หัชพร เขียวบ้านยาง
วาสนา สุขอยู่
สุนันทา ถุงเงิน
เสาวรส ชื่นเกสร

Abstract

Background: Anesthetic techniques for postpartum tubal ligation range from local anesthesia to neuraxial or general anesthesia on expenditure. In current expenditure - conscious environment, it is important to examine the impact of anesthetic techniques.

Objective: To compare anesthetic - related institute expenditure between three anesthetic techniques for postpartum tubal ligation (TIVA: total intravenous anesthesia, SA: spinal anesthesia and EA: epidural anesthesia), patient satisfaction and incidence of postoperative side effects.

Method: Prospective randomized controlled trial (RCT) was conducted. Ninety consenting patients undergoing postpartum tubal ligation were randomly assigned to one of three anesthetic technique groups: group A receiving TIVA; group B receiving SA; and group C receiving EA.

Result: The mean total perioperative expenditure were significantly decreased in group EA (152.62 ± 28.12 Bht compared with 272.75 ± 107.32 and 281.49 ± 28.07 Bht in groups TIVA and SB, respectively) because both intraoperative and recovery expenditure were lowest (P < 0.05). Although the recovery expenditure of SA group did not differ from EA group, but the intraoperative expenditure were significantly increase in SA group. Because lidocaine used in EA group was cheaper than bupivacaine used in SA group, and resterilized epidural needles has lower cost than disposable spinal needles. There was no significant difference among the three groups with the postoperative side effects; hypotension, nausea, vomiting, urinary retention and headache. However, the need for pain medication was more in TIVA goup (100% and 0% for group SA and EA; P < 0.05). No patient was dissatisfied with the anesthetic techniques they received.

Conclusion: In our hospital setting, the cost of epidural anesthesia for postpartum tubal ligation is lowest compared with spinal or total intravenous anesthesia.

 

การศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ผลข้างเคียง และความพึงพอใจของการระงับความรู้สึกโดยวิธีบริหารยาทางหลอดเลือดดำ ทางช่องไขสันหลังและทางช่องเหนือดูรา ในผู้ป่วยผ่าตัดทำหมันหลังคลอด

บทนำ: การระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทำหมันหลังคลอดสามารถทำได้หลากหลายเทคนิควิธีเริ่ม ตั้งแต่การฉีดยาชาเฉพาะที่ การระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วน หรือการระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว ปัจจุบัน การคำนึงถึงความประหยัดและการลดค่าใช้จ่ายในการระงับความรู้สึกจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ให้ความสำคัญ

จุดประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายการระงับความรู้สึกของผู้ป่วยทำหมันหลังคลอดโดยวิธีบริหารยา ทางหลอดเลือดดำ, ทางช่องไขสันหลัง และทางช่องเหนือดูรา รวมถึงความพึงพอใจของผู้ป่วย และภาวะ แทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังการระงับความรู้สึก

วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ prospective randomized control trial (RCT) โดยมีผู้ป่วยทั้งหมด 90 ราย ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดทำหมันหลังคลอด ที่โรงพยาบาลพิจิตร สุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยบริหารยาทางหลอดเลือดดำ (TIVA) กลุ่มที่บริหารยาชาทางช่องไขสันหลัง (SA) และกลุ่มที่บริหารยาชาทางช่องเหนือดูรา (EA) ผู้ป่วย ทุกคนได้รับการเซ็นยินยอมการเข้าร่วมโครงการวิจัย และวิธีการระงับความรู้สึกที่ผู้ป่วยได้รับ

ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่ม EA มีค่าใช้จ่ายรวมตลอดการผ่าตัดน้อยกว่า กลุ่ม TIVA และ SB อย่างมีนัยสำคัญ (152.62 ± 28.12 บาท เปรียบเทียบกับ 272.75 ± 107.32 บาท และ 281.49 ± 28.07บาท ในกลุ่ม TIVA และกลุ่ม SB ตามลำดับ) เพราะทั้งค่าใช้จ่ายระหว่างผ่าตัดและค่าใช้จ่ายที่ห้องพักฟื้นมีค่าน้อยกว่า แม้ว่ากลุ่ม SA จะมี ค่าใช้จ่ายที่ห้องพักฟื้นไม่แตกต่างจากกลุ่ม EA ก็ตาม แต่กลุ่ม SA มีค่าใช้จ่ายระหว่างผ่าตัดมากกว่ากลุ่ม EA อย่างมีนัยสำคัญ เพราะกลุ่ม EA ใช้ยาชาเฉพาะที่ lidocaine และ resterilized epidural needles ซึ่งค่าใช้จ่าย ถูกกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม SA ที่ใช้ยาชาเฉพาะที่ bupivacaine และ disposable spinal needles ซึ่งมีค่าใช้จ่าย สูงกว่า สำหรับอุบัติการณ์ภาวะความดันโลหิตต่ำ อาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะไม่ออก และปวดศีระษะ ไม่แตกต่างทั้งสามกลุ่ม แต่อาการปวดที่ผู้ป่วยต้องการยาระงับปวดเพิ่มหลังผ่าตัดพบว่า ในกลุ่ม TIVA ต้องการยาระงับปวดคิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อเทียบกับกลุ่ม SA และ EA ไม่มีใครต้องการยาระงับปวดเพิ่มเลย ในส่วนของการวัดระดับความพึงพอใจในพบว่าไม่พบผู้ป่วยที่ไม่พึงพอใจกับการระงับความรู้สึกทั้งสามวิธี

สรุป: การผ่าตัดทำหมันหลังคลอดที่โรงพยาบาลพิจิตรการบริหารยาชาเฉพาะที่ทางช่องเหนือดูรามีค่าใช้จ่าย น้อยกว่าการบริหารยาทางช่องไขสันหลังและทางหลอดเลือดดำ

Article Details

Section
Original articles