P6 Acupuncture with Facial Needle PreventsNausea and Vomiting from Intrathecal Morphine for Cesarean Section

Main Article Content

เบญจวรรณ ปิ่นศรศักดิ์

Abstract

Background: Postoperative nausea and vomiting (PONV) is a common complication after intrathecal morphine for cesarean section. Several recent reviews state that stimulation of P6 acupoint is effective for preventing this symptom. This acupuncture point lies about 3 cm up thearm from the wrist crease.

Objective and design: This prospective, unblinded, randomized, controlled study was conducted to investigate the efficacy of P6 acupuncture with facial needle on preventing PONV from intrathecal morphine for cesarean section.

Methods: 80 full-term patients (excluded 1 sample), ASA I and II, undergoing cesarean section were randomly divided into 2 groups after the baby was born. Group A (acupuncture group, n = 39) received P6 stimulation with facial needle (0.22×13 mm) and group C was the control group, n = 40.

Result: There was no significant difference of incidence of PONV in 24 hours after intrathecal morphine between 2 groups (35% in group A comparedwith 45% in group C, p = 0.10) but significant less in the severity of PONV in groupAthan group C (p = 0.02).

Conclusion: P6 acupuncture with facial needle does not reduce the incidence of PONV from intrathecal morphine for cesarean section but reduce the severity in 24 hours.

 

การฝังเข็มด้วยเข็มหน้าที่จุด P6 ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการให้มอร์ฟีนทางไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด

ทนำ: ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดคลอดส่วนใหญ่ที่ได้รับ intrathecal morphine มักพบอุบัติการณ์การเกิด คลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดและพบว่าการฝังเข็มที่จุด pericardium 6 (P6) ซึ่งมีตำแหน่งสามเซนติเมตรเหนือต่อ กึ่งกลาง transverse crease ของข้อมือสามารถลดอุบัติการณ์คลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดได้

วัตถุประสงค์: เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพของการฝังเข็มโดยใช้เข็มหน้าที่จุด P6 ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจาก การให้มอร์ฟีนทางไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลปทุมธานี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิง ทดลองแบบ prospective, unblinded, randomized, controlled trial ในผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนด 80 คน ASA I และ II ที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ด้วยยาชา 0.5% heavy bupivacaine ผสมกับ morphine 0.2 มก. หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดคลอดเด็กและรกออกแล้ว จะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม โดยวิธีสุ่ม ซึ่งผู้ป่วย 40 รายเป็นกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับการฝังเข็ม และผู้ป่วยอีก 40 ราย ได้รับการฝังเข็มโดยใช้ เข็มหน้า (0.22 x 13 mm) ที่จุด P6 ที่ข้อมือทั้งสองข้างกระตุ้นเข็มทุก ๆ 5 - 10 นาทีใช้ระยะเวลาฝังเข็ม 20 นาที แต่จำเป็นต้องคัดผู้ป่วยในกลุ่มฝังเข็ม 1 รายออกจากการศึกษา เนื่องจากได้ยา methylergonovine ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียนที่ห้องพักฟื้นโดยใช้ nausea/vomiting score ที่เวลา 0, 30 และ 60 นาที ประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียนและผลข้างเคียงต่าง ๆ ในระยะเวลา 24 ชั่วโมงที่หอผู้ป่วย

ผลการศึกษา: ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับอุบัติการณ์ของอาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดในระยะเวลา 24 ชั่วโมงของทั้งสองกลุ่ม (ร้อยละ 35.0 ในกลุ่มฝังเข็มและ ร้อยละ 45.0 ในกลุ่มควบคุม, p = 0.10) แต่ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มฝังเข็ม จะมีอุบัติการณ์ของอาการคลื่นไส้อาเจียนระดับปานกลางถึงรุนแรง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value = 0.02) และไม่มีความแตกต่างในเรื่องผลข้างเคียง ต่าง ๆ ในทั้งสองกลุ่ม

สรุป: การฝังเข็มโดยใช้เข็มหน้าที่จุด P6 ไม่ได้ลดอุบัติการณ์ของอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่ลดระยะเวลา และระดับความรุนแรงของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการให้ มอร์ฟีนทางไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดโรงพยาบาลปทุมธานี

Article Details

Section
Original articles