ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

Authors

  • จันทร์จีรา กลมมา
  • ฉวี เบาทรวง
  • นันทพร แสนศิริพันธ์

Keywords:

การสนับสนุนทางสังคม ความเครียด สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

Abstract

     ความเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นการดูแลเพื่อลดความเครียดในสตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้ จึงเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาลผดุงครรภ์ การวิจัย
กึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคือสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 44 ราย ที่รับการรักษาที่ห้องคลอด โรงพยาบาลนครพิงค์ ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 รายเท่ากัน ทั้งสองกลุ่มได้รับการจับคู่ให้มีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ ลำดับที่ของการมีบุตร อายุครรภ์ และสภาวะของถุงน้ำคร่ำ กลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ แผนการสนับสนุนทางสังคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเชฟเฟอร์ คอยน์ และลาซาลัส (1981) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ มาตรวัดความเครียดด้วยสายตา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ และสถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่มอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า สตรีตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลองมีคะแนนความเครียดต่ำกว่าสตรีตั้งครรภ์ในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

     ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรให้การสนับสนุนทางสังคม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพของการดูแลในการลดความเครียดในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

Downloads

Published

2018-03-13

How to Cite

กลมมา จ., เบาทรวง ฉ., & แสนศิริพันธ์ น. (2018). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. Nursing Journal CMU, 44(3), 9–18. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/115307