ความคาดหวังจากการดื่มสุราและพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Authors

  • ปิยทัศน์ เร่งเร็ว
  • หรรษา เศรษฐบุปผา
  • ดาราวรรณ ต๊ะปินตา

Keywords:

ความคาดหวังจากการดื่มสุรา พฤติกรรมการดื่มสุรา ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังจากการดื่มสุราและพฤติกรรมการดื่มสุรา

Abstract

     การดื่มสุราของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มมากขึ้น และความคาดหวังจากการดื่มสุรา            เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจ ของนักศึกษาต่อการที่จะดื่มสุรา การวิจัยครั้งนี้จึง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังจากการดื่มสุรา พฤติกรรมการดื่มสุรา และความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังจากการดื่มสุรากับพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 1-4 ในสถาบันการศึกษาของรัฐ จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2557 จำนวน         3 สถาบันการศึกษา จำนวน 612 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบประเมินความคาดหวังจากการดื่มสุราของ ยัง และโออี (Young & Oei, 1996) และ3)แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา ขององค์การอนามัยโลก (WHO, 2011) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแคว์ 

ผลการศึกษาพบว่า

  1. พฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มี 4 กลุ่ม คือ มีพฤติกรรมการดื่มสุราแบบความเสี่ยงต่ำร้อยละ 32.68 พฤติกรรมการดื่มสุราแบบเสี่ยงร้อยละ 46.73 พฤติกรรมการดื่มสุราแบบอันตรายร้อยละ 10.95 และพฤติกรรมการดื่มแบบติดสุราร้อยละ 9.64
  2. ความคาดหวังจากการดื่มสุราของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังจากการดื่มสุรา ในด้านการลดความตึงเครียดร้อยละ 66.80 ด้านความกล้าแสดงออกร้อยละ 61.90  ด้านความรู้สึกพึ่งพิงร้อยละ 53.80 ด้านการกระตุ้นในเรื่องเกี่ยวกับเพศร้อยละ 53.30 ด้านการเปลี่ยนแปลงภาวะอารมณ์ร้อยละ 51.00 และด้านการเปลี่ยนแปลงการรู้คิดร้อยละ 44.90
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังจากการดื่มสุรากับพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นว่า

                        3.1  ความคาดหวังด้านความกล้าแสดงออกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (=15.28, df=3)

                        3.2  ความคาดหวังจากการดื่มสุรา ด้านการเปลี่ยนแปลงภาวะอารมณ์ ด้านความรู้สึกพึ่งพิง ด้านการกระตุ้นในเรื่องเกี่ยวกับเพศ ด้านการเปลี่ยนแปลงการรู้คิด และด้านการลดความตึงเครียด ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุรา

            ผลวิจัยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้วางแผนในการป้องกันการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-03-13

How to Cite

เร่งเร็ว ป., เศรษฐบุปผา ห., & ต๊ะปินตา ด. (2018). ความคาดหวังจากการดื่มสุราและพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัย. Nursing Journal CMU, 44(3), 113–124. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/115330