ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่
Keywords:
ความปลอดภัยในการทำงาน ระบบการจัดการความปลอดภัย พยาบาล โรงพยาบาลAbstract
ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลในการลดอันตรายและการบาดเจ็บจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพยาบาลและความคิดเห็นของพยาบาลต่อระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 379 คน ได้รับการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเป็นระบบและออกแบบประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
ผลการศึกษา พบว่า 1) คะแนนการจัดการความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับยอมรับได้ ( =1.80, SD=0.57) คะแนนในแต่ละด้านของการจัดการความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพยาบาลพบว่า ด้านนโยบายความปลอดภัย ( =1.95, SD=0.58) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การควบคุมและการทบทวนกิจกรรม ( =1.90, SD=0.56) การสื่อสารและส่งต่อข้อมูล ( =1.85, SD=0.55) การวางแผน ( =1.81, SD=0.54) การฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะบุคคลากรด้านความปลอดภัย ( =1.69, SD=0.59) และการจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วม ( =1.63, SD=0.60) ตามลำดับ 2) พยาบาลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าระบบการจัดการความปลอดภัยมีความเหมาะสมในการลดอันตรายและการบาดเจ็บจากการทำงาน อย่างไรก็ตามข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ 1) การเพิ่มแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 2) การเพิ่มการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการทำงานและ
แรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำตามแนวปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน 3) การเพิ่มการฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากการทำงาน 4) การเพิ่มการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายในการทำงานให้บุคลากรได้ทราบอย่างทั่วถึง และ 5) การวิเคราะห์สาเหตุของความเสี่ยงในการทำงานทุกเรื่อง
ผลที่ได้จากการศึกษานี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้ในการปรับปรุงจัดการระบบความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว