การเปรียบเทียบผลของการกำกับตนเองร่วมกับการให้ความรู้กับการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรค

Authors

  • อชิรญา เอกจิตต์ โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี
  • วันชัย มุ้งตุ้ย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การกำกับตนเอง การให้ความรู้ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ วัณโรคปอด

Abstract

บทคัดย่อ:
อุบัติการณ์วัณโรคปอดในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการกำกับตนเองร่วมกับการให้ความรู้กับการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกวัณโรค ในโรงพยาบาล 3 แห่งจังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม 2554 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 44 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน คือ กลุ่มควบคุมได้รับการให้ความรู้ตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการกำกับตนเองร่วมกับการให้ความรู้ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแผนการให้ความรู้โดยใช้สมุดบันทึกสุขภาพสำหรับผู้ป่วยวัณโรคและสื่อวีดิทัศน์ และแผนการกำกับตนเองในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
หลังได้รับการกำกับตนเองร่วมกับการให้ความรู้ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 8.86 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.76) เป็น 39.95 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย 36.27 คะแนน(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การกำกับตนเองร่วมกับการให้ความรู้ ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด จึงควรนำวิธีการกำกับตนเองไปใช้เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติในผู้ป่วยวัณโรคปอดต่อไป
คำสำคัญ: การกำ กับตนเอง การให้ความรู้ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ วัณโรคปอด

 

Abstract:
The incidence of pulmonary tuberculosis is increasing in Thailand as tuberculosis patientsspread the disease to others. The promotion of practices to prevent infection transmission isessential to control the spreading of tuberculosis. The purpose of this quasi-experimental studywas to compare the effectiveness of combining education with self-regulation relative to educationalone in preventing infection transmission among pulmonary tuberculosis patients. The subjects werepatients who attended pulmonary tuberculosis clinics at three hospitals in Kanchanaburi provincefrom July to December, 2011. Forty four patients were purposely selected and divided equallyinto two groups. The control group received the routine education whereas the experimental groupreceived self-regulation guided intervention with routine education. The instruments for theintervention were health education plan for pulmonary tuberculosis patients by means of health logbooks and video media, and a self-regulation plan. Instruments for data collection consisted of ademographic data recording form and a questionnaire about practices in the prevention of infectiontransmission. The data were analyzed using descriptive statistics and t-tests.
The results of study:
The results revealed that after receiving self-regulation guided intervention combined withstandard education, the mean score for practices in the prevention of infection transmission amongthe experimental group increased significantly from 8.86 (S.D. = 3.76) to 39.95 (S.D. = 1.65),(p<0.001), and was significantly higher than that of the control group which had a mean score of36.27 (S.D. = 2.69), (p<0.001)These findings indicate that teaching self-regulation guided intervention paired with standardpulmonary tuberculosis education can enhance practices in the prevention of infection transmissionamong pulmonary tuberculosis patients.
Key words : Self-regulation, Education, Prevention of Infection Transmission, Pulmonary Tuberclosis

Downloads

How to Cite

เอกจิตต์ อ., มุ้งตุ้ย ว., & บุญเชียง ว. (2014). การเปรียบเทียบผลของการกำกับตนเองร่วมกับการให้ความรู้กับการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรค. Nursing Journal CMU, 40(4), 1–11. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18662