การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองในการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Authors

  • สุภาภรณ์ ประยูรมหิศร โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี
  • อะเคื้อ อุณหเลขกะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง, การป้องกันการติดเชื้อ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ผู้ดูแลเด็ก, Self-Learning Package, Infection Prevention, Child Development Center, Child Care Provider

Abstract

บทคัดย่อ
ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กที่ให้การดูแลเกิดการติดเชื้อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองในการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามขั้นตอนของดิคก์และคณะ โดยใช้กรอบแนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของโนลส์ร่วมกับการทบทวนแนวทางการป้องกันการติดเชื้อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของหน่วยงานต่างๆ ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้นประเมินโดยผู้ดูแลเด็กที่ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 41 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองประกอบด้วยแบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ดูแลเด็กที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองการวิจัยดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยเอกสารบทเรียนและวีดิทัศน์ เอกสารบทเรียนมีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของการติดเชื้อ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ วิธีการแพร่กระจายเชื้อ โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก และการป้องกันการติดเชื้อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วีดิทัศน์มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการคัดกรองเด็กป่วยการเฝ้าระวังการติดเชื้อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การทำความสะอาดมือ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และการจัดการสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผลการประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองพบว่าชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2 = 93.6/90.5) กลุ่มตัวอย่างทุกคนเห็น ด้วยมากและมากที่สุดว่า ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมากขึ้น และได้รับประโยชน์จากชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ร้อยละ 96.7เห็นด้วยมากและมากที่สุดว่าชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเหมาะสมกับการนำไปศึกษาด้วยตนเอง และสะดวกในการนำไปใช้
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองในการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปเผยแพร่ให้ผู้ดูแลเด็กใช้ศึกษาด้วยตนเองเพื่อให้มีความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
คำสำคัญ: ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การป้องกันการติดเชื้อ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ดูแลเด็ก

Abstract
Child care providers (CCPs) who work in child development centers (CDCs) need to haveknowledge of infection prevention to protect children from infections. This study aimed to developand evaluate the efficiency of a self-learning package (SLP) on infection prevention for CCPs whowork in CDCs. The SLP was developed by the researcher using the steps of Dick and colleaguesand based on the Knowles’s self-directed learning concept in addition to several organizationalguidelines for infection prevention in CDCs. The efficiency of the SLP was evaluated by 41 CCPswho work in CDCs located in Mueang District, Kanchanaburi Province. Participants were selected bysimple random sampling. The tools for evaluating the efficiency of the SLP consisted of knowledgetests and an opinion of CCPs towards SLP questionnaire. The study was conducted from July toNovember 2012. Data were analyzed using descriptive statistics.
The SLP developed for this study consisted of a learning manual and a video. The learningmanual included information on the definition of infection, factors associated infection, modes oftransmission, common infectious diseases in children, and infection prevention in CDCs. The videoincluded practices in screening sick children, surveillance of infection, prevention of transmission, handhygiene, personal protective equipment and management of the CDC’s environment. The efficiencyof SLP was higher than the standard for an efficient SLP (E1/E2= 93.6/90.5). All participants stronglyand totally agreed that the SPL helped them increase their understanding of infections and infectionprevention in the CDCs and felt they benefited from the SPL. Ninety- six point seven percent ofCCPs strongly and totally agreed that the SPL was appropriate for self-study and convenient to use.
The results of the study showed that the developed SLP for infection prevention among CCPsin CDCs was efficient. This SLP could be distributed to CCPs for self-study to gain knowledge ofinfection prevention in CDCs.
Key words: Self-Learning Package, Infection Prevention, Child Development Center, Child CareProvider

Downloads

How to Cite

ประยูรมหิศร ส., อุณหเลขกะ อ., & จิตรีเชื้อ จ. (2014). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองในการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. Nursing Journal CMU, 40(4), 34–44. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18675