ประสบการณ์การกลับเป็นซ้ำของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุรา

Authors

  • พิมญลักษณ์ ปัญญา นักศึกษามหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หรรษา เศรษฐบุปผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พันทิพย์ จอมศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ประสบการณ์การกลับเป็นซํ้า, โรคติดสุรา, ผู้สูงอายุ, Experiences of Relapse, Alcohol Dependence, Elderly

Abstract

บทคัดย่อ
การติดสุราซํ้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุรามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายส่งผลกระทบในหลายด้านทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม และจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาประสบการณ์การกลับเป็นซํ้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุราในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการติดสุราซ้ำ ผลกระทบของการกลับเป็นซ้ำ และการดูแลช่วยเหลือที่ได้รับเมื่อมีการกลับเป็นซํ้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุรา คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน21 ราย รวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 – เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกการสังเกตและการบันทึกข้อมูลภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ผู้วิจัย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
ปัจจัยในการกลับเป็นซํ้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุราพบ 3 ประเด็น คือปัจจัยจากตนเอง ปัจจัยจากครอบครัว และปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนผลกระทบของการกลับเป็นซํ้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุราพบ 3 ประเด็น คือ ผลกระทบต่อตนเอง ผลกระทบต่อครอบครัว และผลกระทบต่อชุมชน ส่วนการได้รับการดูแลช่วยเหลือของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุราที่มีการกลับเป็นซํ้าพบ 4 ประเด็นคือ การดูแลช่วยเหลือตนเอง การดูแลช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว การดูแลช่วยเหลือจากสังคมและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และการดูแลช่วยเหลือจากทีมสุขภาพผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพให้ตระหนักถึงปัจจัยในการติดสุราซํ้า ผลกระทบของการกลับเป็นซํ้า ทั้งยังเป็นแนวทางในการป้องกันการติดสุราซํ้าในผู้สูงอายุและการพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับวัยสูงอายุที่เป็นโรคติดสุราต่อไป
คำสำคัญ : ประสบการณ์การกลับเป็นซํ้า โรคติดสุรา ผู้สูงอายุ

Abstract
Relapse among the elderly with alcohol dependence (EAD) increases due to multiple factors,negatively affecting patients, their families and society. Assistance for this group is therefore neededin hospitals and communities. This qualitative research study aimed to examine the experiencesof EAD regarding the factors associated with relapse of EAD, the impacts of relapse, and theassistance received. Twenty-one participants were selected by purposive sampling. Data wereobtained during October 2010 and August 2011 using in-depth interviews, observation, and field notes.The instruments used for data collection were the researcher, a demographic data questionnaire,and an in-depth interview guideline. Qualitative data analysis was used.
The results of study
That participants perceived certain reasons for recurrence of drinking alcohol. Participantsidentified three themes: individual factors, family factors, and social and environment factors.Participants identified three themes that were impacted by relapse of drinking alcohol: self impact,family impact, and society impact. The participants identified four themes of care and help: selfcare, care and help from family, care and help from society and others, and care and help fromhealth care professionals.These findings could be used as baseline information for health care personnel to become moreaware of the factors associated with relapse among EAD and the impacts of relapse. Additionally,this information could be used to create preventive guidelines for relapse among EAD and helpdevelop a proper care model for EAD.
Key words : Experiences of Relapse, Alcohol Dependence, Elderly

Downloads

How to Cite

ปัญญา พ., เศรษฐบุปผา ห., & จอมศรี พ. (2014). ประสบการณ์การกลับเป็นซ้ำของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุรา. Nursing Journal CMU, 40(4), 45–55. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18865