ผลของการพัฒนาทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น

Authors

  • ศศินันท์ พันธ์สุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กนกพิชญ์ วงศ์ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปาณิสรา หลีค้วน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

โปรแกรมพัฒนาทักษะป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, Skills Development for Prevention of Sexual Risk Behavior, Perceived Self-Efficacy, Sexual Risk Behavior

Abstract

บทคัดย่อ
พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นหญิงในสังคมไทยยุคปัจจุบัน กำลังเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเนื่องจากมีแนวโน้มว่าวัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยลงเรื่อยๆ และแสดงพฤติกรรมทางเพศกันอย่างเปิดเผย การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนวัยรุ่นหญิงที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยเกณฑ์คุณสมบัติดังนี้ 1) วัยรุ่นหญิงที่มีอายุระหว่าง15-18 ปี 2) มีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับปานกลางจนถึงตํ่า 3) มีคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอยู่ในระดับปานกลางจนถึงสูง และ 4) ยินยอมให้ความร่วมมือในการวิจัย ได้กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ15 คน โดยจัดให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ ระดับคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงของบัวทิพย์ ใจตรงดี(2546) ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและสถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. วัยรุ่นหญิงที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 และมีคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศตํ่ากว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.0012. วัยรุ่นหญิงที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001และมีคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มระดับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงลงได้ การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงต่อไป
คำสำคัญ: โปรแกรมพัฒนาทักษะป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

Abstract
Presently, sexual behavior of female adolescences in Thai society is significant issue sincemost teenage girls are likely to have sex for the first time at the early age as well as exhibit openlysexual behavior. The purpose of this quasi-experimental research study was to examine the effectof the Skills Development for Prevention of Sexual Risk Behavior Program self-efficacy and sexualrisk behavior among female adolescents. The subjects were female adolescents studying in grades10-11 under the Department of General Education in Lumpang Province. Thirty participants wereselected by purposive sampling and divided into a control and experimental group of fifteen in eachgroup. The instrument for intervention consisted of the skill development for prevention of sexualrisk behavior content validity of the program was confirmed though 3 experts. Instruments for datacollection included the demographic data questionnaire, the Sexual Risk Behaviors Questionnairedeveloped by Buathip Jaitrongdee (2545). Reliability of questionnaire was confirmed by Cronbach’scoefficient alpha and was 0.90. The perceived self-efficacy questionnaire was developed by theresearcher based on the literature review and its content validity was 0.92 . The reliability coefficientwas 0.89. Data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test, and dependent t-test.
The results of study
1. Female adolescents in the experimental group had statistically significant higher perceivedself-efficacy than before the program p<0.001 and lower sexual risk behavior scores than before theprogram p<0.0012. Female adolescents in the experimental group had statistically significant higher perceivedself-efficacy scores and sexual risk behavior scores than those in control group p<0.001The results of this study indicate that the skill development for prevention of sexual riskbehavior program could be used to increase self-efficacy and reduce sexual risk behavior amongfemale adolescents. This study is effective for the prevention of sexual risk behavior among femaleadolescents.
Key words: Skills Development for Prevention of Sexual Risk Behavior, Perceived Self-Efficacy, Sexual Risk Behavior

Downloads

How to Cite

พันธ์สุวรรณ ศ., วงศ์ใหญ่ ก., & หลีค้วน ป. (2014). ผลของการพัฒนาทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น. Nursing Journal CMU, 40(4), 68–79. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18868