การถอดบทเรียน : การจัดการความรู้และการสร้างองค์ความรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

Authors

  • เดชา ทำดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธนารักษ์ สุวรรณประพิศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิลาวัณย์ เสนารัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การจัดการความรู้, การสร้างองค์ความรู้สุขภาวะชุมชน, การจัดการสุขภาวะชุมชน, การพัฒนาชุมชน, Knowledge management, Knowledge creation for healthy community, Healthycommunity management, community development

Abstract

บทคัดย่อ
การจัดการความรู้และสร้างองค์ความรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านระบบการจัดการสุขภาวะชุมชน พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชนเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่1 พฤษภาคม 2552 – 31 ตุลาคม 2553 กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานครอบคลุมตำบลที่มีการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่และชุมชน (สำนัก 3)เป็นโครงการระดับตำบลจำนวน 44 โครงการและโครงการจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 4 โครงการผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่โครงการแกนนำ และประชาชน เครื่องมือในการจัดการความรู้และเก็บรวบรวมข้อมูลพัฒนาขึ้นจากกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้โดยณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์, 2552 รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกการสังเกตการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
จากการดำเนินการจัดการความรู้และการสร้างองค์ความรู้สุขภาวะชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ได้เกิดชุดความรู้ 6 ประเด็นคือ 1) ระบบการจัดการสุขภาวะตำบล 2) รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตำบล 3) การบูรณาการสุขภาวะ 4 มิติ 4) โครงสร้างเครือข่ายและปัจจัยเสริมในการดำเนินงานเครือข่าย 5) ปัจจัยกำหนดผลการดำเนินงานตามภารกิจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และ 6) คุณลักษณะของตำบลสุขภาวะ และได้ข้อมูลประเด็นการวิจัยและพัฒนา 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การจัดการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ 2) การจัดการระบบเศรษฐกิจชุมชน และ3) การจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสร้างพลังมวลชน รวมทั้งได้ประเด็นเพื่อจัดเวทีพัฒนานโยบายสาธารณะได้แก่ การพัฒนาสุขภาพชุมชน การพัฒนาการจัดการทรัพยากรดินนํ้าและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจการพัฒนาด้านสังคม การพัฒนาด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และการพัฒนาให้เกิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่หลากหลาย
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร จากการสังเคราะห์และดำเนินโครงการทำให้บุคลากรในสถาบันการศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้สุขภาวะชุมชน และวิธีการทำงานร่วมกับชุมชน และทำให้บุคลากรในชุมชนได้เรียนรู้การค้นหาทุนทางสังคมและการนำใช้ข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาของชุมชนเพื่อพัฒนาไปสู่ตำบลสุขภาวะต่อไป
คำสำคัญ: การจัดการความรู้ การสร้างองค์ความรู้สุขภาวะชุมชน การจัดการสุขภาวะชุมชน การพัฒนาชุมชน

Abstract
The knowledge management and knowledge creation for healthy community in Lower-NorthernThailand project aimed to create knowledge on community health system management and capacitybuilding to create a healthy community. The project was conducted from May 1, 2009 to October31, 2010. The target population included 44 projects under the support of Thai -health Fund. Division3 and 4 projects were developed and established by Rajabhat University. Project key informantswere subdistrict or municipality administrators, community leaders, health personnel, project staff,peer leaders and people living in the communities. The tools for data collection were developedbased on knowledge management theory by Noppasit Jakpituck, 2009. Data were collected byfocus group discussion, in-depth-interview, participatory observation, and field observation. Datawere analyzed by content analysis and data structuring. The knowledge sharing process included aforum to share good practices and for reflection, a capacity building workshop, and healthy publicpolicy development.The results revealed 6 sets of knowledge as follows: 1) community health caresystem management, 2) health development modeling, 3) integration of four health dimensions, 4)networkingstructure and enhanching factors, 5) determinant factors of local government mission,and 6) characteristics of healthy community.
Based on the results of the study three issues were selected for research and developmentwhich included agrochemical management, community economic system management, and peopleempowerment system. For healthy public policy development, the selected issues included healthycommunity development, healthy environmental management, community economic system, socializeddevelopment, local wisdom and local cultural development, and learning community. Capacitybuilding was organized to enhance the faculty members’ ability to discover potential, learn aboutcommunity knowledge management and work with the community members. Community participantswere able to use their capacity and data from this study to solve community problems and managetheir own community healthy development.
Key words: Knowledge management, Knowledge creation for healthy community, Healthycommunity management, community development

Downloads

How to Cite

ทำดี เ., สุวรรณประพิศ ธ., & เสนารัตน์ ว. (2014). การถอดบทเรียน : การจัดการความรู้และการสร้างองค์ความรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. Nursing Journal CMU, 40(4), 100–113. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18881