สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลและความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ทั่วไป ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
Keywords:
Nursing Practice Environment, Burnout, Nurses, Central General Hospitals, VietnamAbstract
บทคัดย่อ
สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลและความเหนื่อยหน่ายในรูปแบบต่างๆส่งผลต่อผลลัพธ์ที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจของพยาบาล ผู้ป่วย และองค์การ วัตถุประสงค์ของการศึกษาแบบพรรณนาเชิงสหสัมพันธ์นี้เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล ความเหนื่อยหน่าย และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลและความเหนื่อยหน่ายตามการรับรู้ของพยาบาล ในโรงพยาบาลศูนย์กลางทั่วไป ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลจำนวน 351 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวัดสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติของดัชนีงานพยาบาลและแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของแมซแลช ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบวัดสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติของดัชนีงานพยาบาลเท่ากับ 0.75 และของแบบวัดความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ความรู้สึกความเป็นบุคคลลดลง และความสำเร็จส่วนบุคคลเท่ากับ 0.86,0.78 และ 0.65 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอันดับที่ของสเพียร์แมน
ผลการวิจัย พบว่า
การรับรู้สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในหมวดหมู่ที่พึงพอใจ โดยมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลในระดับดี 4 ด้านจากทั้งหมด 5 ด้านได้แก่ ด้านการร่วมมือของพยาบาลในโรงพยาบาล (_X=2.53, S.D.=0.50) ด้านพื้นฐานการพยาบาลเพื่อคุณภาพการดูแล (_X=2.61, S.D.=0.46) ด้านความสามารถ ภาวะผู้นำ และการสนับสนุนของผู้บริหารการพยาบาล (_X=2.56, S.D.=0.49) และด้านความสัมพันธ์ของพยาบาลและแพทย์ (_X=2.60, S.D.=0.55) ยกเว้นด้านความเพียงพอของอัตรากำลังและทรัพยากรที่อยู่ในระดับไม่ดี (_X=2.28, S.D.=0.55) การรับรู้ความเหนื่อยหน่ายทั้ง 3 ด้านคือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ความรู้สึกความเป็นบุคคลลดลง และความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง (_X=23.26, S.D.=9.55;_X=7.94, S.D.=4.75; และ_X=32.20, S.D.=7.78 ตามลำดับ) สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลมีความสัมพันธ์ในทางลบกับความอ่อนล้าทางอารมณ์ (r = -0.37, p<0.01) และความรู้สึกความเป็นบุคคลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.41, p<0.01) ส่วนสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสำเร็จส่วนบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.43, p<0.01)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประเด็นสำคัญของสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลและความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาในการสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่ดีของพยาบาลและผู้ป่วย
Abstract
The nursing practice environment (NPE) and burnout can result in favorable and unfavorableconsequences among nurses, patients, and the organization. This descriptive correlational studyaimed to examine NPE, burnout, and relationships between the nursing practice environment andburnout as perceived by staff nurses in central general hospitals in the Socialist Republic of Vietnam.Stratified random sampling was used to identify a sample of 351 nurses. Research instrumentsconsisted of the Practice Environment Scale of the Nursing Work Index and the Maslach BurnoutInventory. The reliability coefficients of the research instruments were 0.75 for the Practice EnvironmentScale of the Nursing Work Index and 0.86, 0.78, and 0.65 for emotional exhaustion, personalaccomplishment, and depersonalization subscales, respectively. Data were analyzed using descriptivestatistics and Spearman’s rank-order correlation.
The results of study
The indicated that the subjects perceived their entire practice environment as favorable.Four of five dimensions including nurse participation in hospital affairs (_X=2.53, S.D.=0.50); nursingfoundations for quality of care (_X=2.61, S.D.=0.46); nurse manager ability, leadership and supportof nurses (_X=2.56, S.D.=0.49); and nurse-physician relations (_X=2.60, S.D.=0.55) were perceivedas good. Staffing and resources adequacy was perceived at a poor level (_X=2.28, S.D.=0.55). Allthree subscales of burnout (emotional exhaustion, depersonalization, and personal accomplishment)were perceived as moderate (_X=23.26, S.D.=9.55;_X=7.94, S.D.=4.75; and_X=32.20, S.D.=7.78,respectively). The entire NPE had significantly negative correlation with emotional exhaustion (r =-0.37, p<0.01) and depersonalization (r= -0.41, p<0.01) while it had significantly positive correlationwith personal accomplishment (r= 0.43, p<.01).The findings point out the significant issues of NPE and burnout among nurses that shouldbe improved in order to create better outcomes for both nurses and patients.
Key Words: Nursing Practice Environment; Burnout; Nurses; Central General Hospitals; Vietnam
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว