ผลของการโคชต่อการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดา ของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด

Authors

  • วิภาจารี แก้วนิล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • อุษณีย์ จินตะเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มาลี เอื้ออำนวย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การโคช, การคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดา, มารดาทารกเกิดก่อนกำหนด, Coaching, Maintaining Breast Milk, Mothers of Preterm Infants'

Abstract

บทคัดย่อ
นมมารดาเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนด เนื่องจากนมมารดามีส่วนประกอบของสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนด การส่งเสริมให้มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดาที่เพียงพอและต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการโคชต่อการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดาของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2554 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ22 ราย โดยการจับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันในด้านจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และอายุครรภ์ กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้รับการโคชตามแผนการโคชของผู้วิจัย และกลุ่มควบคุมคือ กลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด แผนการโคช คู่มือการปฏิบัติ และแบบสังเกตการปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดาที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.89 และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตเท่ากับ1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน และสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้รับการโคชมีคะแนนการปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดามากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
2. มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีคะแนนการปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดาภายหลังได้รับการโคชมากกว่าก่อนได้รับการโคชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
3. มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้รับการโคชมีปริมาณนํ้านมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการโคชทำให้มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีทักษะในการปฏิบัติในการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดาเพิ่มขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีการนำการโคชให้เป็นกลวิธีหนึ่งในการส่งเสริมทักษะของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดเพิ่มเติมจากการสอนปกติ
คำสำคัญ: การโคช การคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดา มารดาทารกเกิดก่อนกำหนด

Abstract
Breast milk is the best food for preterm infants because it contains proper enriching nutrientsfor preterm infants. Encouraging mothers of preterm infants to maintain sufficient consistent breastmilk is important. The purpose of this quasi-experimental, pretest-posttest design was to examine theeffect of coaching on maintaining breast milk among mothers of preterm infants. The subjects weremothers with infants hospitalized in the neonatal ward of one tertiary hospital in northern provinceduring May to September 2011. Forty-four mothers were selected by purposive sampling. The subjectswere equally assigned into the experimental and the control groups with 22 mothers in each group,matched by number of pregnancies and gestational age. The subjects in the experimental groupwere coached by the researcher whereas those in the control group received routine instruction.The research tools included demographic data form for mothers and preterm infants, coaching plan,maintaining breast milk manual, and an observation form. The tools’ content was validated by fiveexperts and the content validity index was 0.89, and the interrater reliability of a practice observationwas 1. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test, and dependent t-test.
The results of study
1. The mothers in the experimental group had statistically significant higher practice scoresthan those in the control group (p<0.01).
2. The mothers of preterm infants, after coaching, had statistically significant higher practicescores than before coaching (p<0.01).
3. The mothers in the experimental group had statistically significant more breast milk thanthose in the control group (p<0.01).
The results of this study show that coaching enhances practical skills of mothers of preterminfants to maintain breast milk. Thus, the coaching technique should be used as one of the strategiesto improve practical skills of breastfeeding among mothers of preterm infants in addition to routineinstruction.
Key words: Coaching, Maintaining Breast Milk, Mothers of Preterm Infants'

Downloads

How to Cite

แก้วนิล ว., จินตะเวช อ., & เอื้ออำนวย ม. (2014). ผลของการโคชต่อการคงไว้ซึ่งนํ้านมมารดา ของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด. Nursing Journal CMU, 40(3), 11–20. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18916