ปัจจัยทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดสมุทรปราการ
Keywords:
การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล, พนักงานพ่นสีชิ้นส่วนยานยนต์, โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, Personal Protective Equipment, Painted-parts Workers, The Automotive Parts IndustryAbstract
บทคัดย่อ
ในภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบอาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ พนักงานอาจได้รับสัมผัสสารตะกั่ว จากการสูดดมไอระเหยหรือละอองขณะพ่นสี ซึ่งส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพและทำให้เกิดการเจ็บป่วยการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานประจำโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดสมุทรปราการมีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 208 คน ดำเนินการศึกษาในช่วงเดือนเมษายน –พฤษภาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามคุณลักษณะประชากร ความรู้เกี่ยวกับพิษของสารตะกั่วและการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม การบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยแบบเชิงชั้น(Hierarchical Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม มีการปฏิบัติทุกครั้ง ร้อยละ 78.61สำหรับทัศนคติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคมและการบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสามารถร่วมกันทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ร้อยละ 14.70 (F [3, 194] = 12.282, p<0.05) ตัวแปรการบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสามารถทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากที่สุด (β = 0.271) จากผลการศึกษา ตัวแปรเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารตะกั่ว โดยเฉพาะพนักงานพ่นสีชิ้นส่วนยานยนต์
คำสำคัญ: การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล พนักงานพ่นสีชิ้นส่วนยานยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Abstract
In the industrial sector, employees in the automotive parts industry may be exposed to leadand the inhalation of vapors or fumes during spray painting. These effects can be harmful to healthand cause illness. The research participants in this study were workers of the automotive partsindustries in Samutprakan Province, specifically in the paint department, for a total of 208 participants.Multistage random sampling was employed in the study, which was conducted from April to May,2012. The research instruments consisted of a questionnaire that included demographic data,knowledge of lead poisoning and the use of personal protective equipment, attitudes toward usingpersonal protective equipment, social support, the management of personal protective equipment,and the use of personal protective equipment for workers of the automotive parts industries. The analysis of the data was performed using descriptive statistics, the Pearson’s product momentcorrelation coefficient, Chi-square, and hierarchical multiple regression analysis.
The results of study
The results showed that 78.61% of the workers in the automotive parts industries usedpersonal protective equipment all the time. The attitudes toward using personal protective equipment,social support, and the management of personal protective equipment were significant predictors at14.70% (F [3,194]= 12.282, p< 0.05). The most predictive variable was the management of personalprotective equipment (β = 0.271). Additionally, these factors may help to support and promote theuse of personal protective equipment and reduce the risk of lead exposure to painted-parts workers.
Key words: Personal Protective Equipment, Painted-parts Workers, The Automotive Parts Industry
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว