ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความมีวินัย ในการรับประทานยาต้านไวรัสและพฤติกรรมเสี่ยงในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

Authors

  • รำไพ หาญมนต์ โรงพยาบาลอรัญประเทศ จ.สระแก้ว
  • นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การจัดการตนเอง, ยาต้านไวรัส, ความมีวินัย, พฤติกรรมเสี่ยง, เอชไอวี/เอดส์, Self-management, Antiretroviral Drug, Adherence, Risk behaviors, HIV/AIDS

Abstract

บทคัดย่อ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ขาดวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัสและมีพฤติกรรมเสี่ยง จะส่งผลให้การรักษาล้มเหลว เกิดเชื้อดื้อยาและโรคติดเชื้อฉวยโอกาส การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความมีวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัสและพฤติกรรมเสี่ยงในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ อายุ 25-59 ปี ที่ลงทะเบียนรับยาต้านไวรัสที่คลินิกพิเศษโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ถึงเดือนสิงหาคม 2554 กลุ่มตัวอย่างสุ่มเลือกแบบมีระบบจำนวน 50 ราย สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการส่งเสริมการจัดการตนเอง แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกความมีวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัส แบบบันทึกอาการข้างเคียงจากยาต้านไวรัส และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแคว์สถิติฟิชเชอร์และสถิติค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
หลังได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเอง กลุ่มทดลองมีวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัส เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงยังน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมการจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มีวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัสมากขึ้นและพฤติกรรมเสี่ยงลดลง ดังนั้นควรนำการส่งเสริมการจัดการตนเองไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เกิดทักษะในการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ: การจัดการตนเอง ยาต้านไวรัส ความมีวินัย พฤติกรรมเสี่ยง เอชไอวี/เอดส์

Abstract
People living with HIV/AIDS (PLWHs) with poor antiretroviral drug adherence and engage inrisk behaviors, can experience treatment failure, with results in drug-resistance and development ofopportunistic infections. The objective of this experimental research was to determine the effectsof self-management on antiretroviral drug adherence and risk behaviors among PLWHs. The studysample consisted of PLWHs aged 25-59 who registered to receive antiretroviral drug from thespecialist clinic at a community hospital during May 2011 to August 2011. Fifty PLWHs were randomlyselected for this study using systematic random sampling. Twenty-five participants each were assignedto the experimental group or control group using simple random sampling. The data collectiontools consisted of a self-management plan, personal data questionnaire, antiretroviral (ARV) drugadherence recording form, ARV adverse events recording form, and a HIV risk behavior questionnaire.The data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square, Fisher exact and t-test statistics.
The results of study
After implementation of the self-management intervention, antiretroviral drug adherence in theexperimental group had significantly increased, and was higher than the control group (p<0.001).The mean score for risk behaviors in the experimental group decreased significantly (p<0.05). When comparing the groups, the mean score of risk behaviors of the experimental group was significantlylower than that of the control group (p<0.05).
This study suggests that self-management can improve ARV drug adherence and reducerisk behaviors among PLWHs. Self-management should be applied to enhance the continuation ofself-management skills for PLWHs.
Key words: Self-management, Antiretroviral Drug, Adherence, Risk behaviors, HIV/AIDS

Downloads

How to Cite

หาญมนต์ ร., เกษตร์ภิบาล น., & จิตรีเชื้อ จ. (2014). ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความมีวินัย ในการรับประทานยาต้านไวรัสและพฤติกรรมเสี่ยงในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์. Nursing Journal CMU, 40(3), 40–49. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18919