การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับ วิธีการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

Authors

  • ณรษา เรืองวิลัย โรงพยาบาลโคกเจริญ จ.ลพบุรี
  • พิกุล นันทชัยพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จินดารัตน์ ชัยอาจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ, ภาวะหัวใจล้มเหลว, วิธีการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล, Systematic Review, Heart Failure, Postdischarge Care

Abstract

บทคัดย่อ
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งต้องการการดูแลในระยะยาว วิธีการดูแลผู้ป่วยหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้รับการแนะนำว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อการเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ ลดการเกิดอาการ ตลอดจนลดการใช้บริการสุขภาพ การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยสืบค้นรายงานวิจัยอย่างเป็นระบบที่มีรายงานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552 คัดเลือกเฉพาะรายงานวิจัยเชิงทดลองที่มีการออกแบบโดยมีกลุ่มควบคุมและมีการสุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดลองและการวิจัยกึ่งทดลองที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ประเมินคุณภาพงานวิจัยและสกัดข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสกัดข้อมูลที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ ผลการสืบค้นอย่างเป็นระบบพบรายงานวิจัยทั้งหมด 33 เรื่อง เป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือก เป็นการศึกษาเชิงทดลอง จำนวน 24 เรื่อง และแบบกึ่งทดลอง จำนวน 9 เรื่อง ไม่มีงานวิจัยเชิงทดลองที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้มากกว่าสองเรื่องขึ้นไป ดังนั้นจึงใช้วิธีการสรุปเชิงเนื้อหาเพื่อบรรยายลักษณะของวิธีการและผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล
ผลการวิจัย พบว่า
วิธีที่ใช้ในการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลมี 5 วิธี ได้แก่ การเยี่ยมบ้าน การติดตามทางโทรศัพท์การติดตามภาวะสุขภาพแบบทางไกล การนัดมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล และ การใช้หลายรปู แบบร่วมกนั ซึง่ ภายใตว้ ธิ กี ารดูแลหลงั การจำหน่ายจากโรงพยาบาลทั้งห้านั้น ใช้การดำเนินงานที่แตกต่างกัน ในเรื่องระยะเวลา จำนวนครั้งในการติดตาม และเทคนิคที่ใช้ในการติดตาม วัตถุประสงค์หลักของการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลมีความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การประเมินอาการและอาการแสดง การส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา การสนับสนุนการดูแลตนเอง (เช่น การใช้ยา การควบคุมนํ้าหนัก การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด) ทั้งนี้ มีการวัดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป การศึกษาส่วนใหญ่ยืนยันว่าวิธีการเยี่ยมบ้าน การติดตามทางโทรศัพท์ การติดตามภาวะสุขภาพแบบทางไกล และการใช้หลายรูปแบบร่วมกันสามารถลดการเข้าใช้บริการในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษา อาการเจ็บป่วย และอัตราตาย วิธีการที่ให้ประสิทธิผลน้อยกว่า ได้แก่ การนัดมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะถึงวิธีการที่มีประสิทธิภาพต่อการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ การเยี่ยมบ้าน การติดตามทางโทรศัพท์ การติดตามภาวะสุขภาพแบบทางไกล และการใช้หลายรูปแบบร่วมกัน การนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ประโยชน์กับการดูแลผู้ป่วยควรพิจารณาถึงความต้องการและความชอบของผู้ป่วย ตลอดจนความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่มีอยู่ของระบบบริการ
คำสำคัญ: การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ภาวะหัวใจล้มเหลว วิธีการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล

Abstract
Heart failure (HF) is a chronic disease that needs long term care. Postdischarge care has beensuggested as an effective strategy to improve functional ability and reduce the related symptomsas well as health service utilization. This systematic review aimed to summarize the best availableevidence related to postdischarge care for patients with HF. A systematic search was undertakento identify both published and unpublished studies from 2004 to 2009. A Study Appraisal Form forexperimental studies developed by the Joanna Briggs Institute was used to appraise the studies.Data was extracted using a Data Extract Form developed by the Joanna Briggs Institute. The systematic search identified a total of 33 studies that met the inclusion criteria, of which 24 were RCTs and 9 quasi-experimental studies. No two or more comparable RCTs were identified, thus,the results were narrative summarized to describe the characteristics of interventions and determinethe effectiveness of those interventions.
The results of study
The results of this review revealed 5 methods of postdischarge care including home visit,telephone follow-up, telemonitoring, outpatient follow-up, and combined technique. Among thesefive methods of postdischarge care, the different manners were used in terms of duration, frequencyof contacts, and methods of postdischarge follow-up. The main purposes of those interventionsamong most studies were similar which included assessing signs and symptoms of HF, promotingtreatment adherence, and enhancing self-care (e.g., medication, weight control, diet, exercise,stress management). Various outcomes of postdischarge care were measured. The majority of thestudies showed that postdischarge care by home visit, telephone follow up, telemonitoring, and acombination of techniques could reduce healthcare service utilization, cost, morbidity and mortalityrate. The intervention that appeared least effective was outpatient follow-up.
This systematic review recommends effective interventions on postdischarge care for patientswith HF including home visits, telephone follow up, telemonitoring, and combined techniques. Evidence utilization should be based on patient needs and preference, as well as the appropriateness andfeasibility of the existing care system.
Key words: Systematic Review, Heart Failure, Postdischarge Care

Downloads

How to Cite

เรืองวิลัย ณ., นันทชัยพันธ์ พ., & ชัยอาจ จ. (2014). การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับ วิธีการดูแลหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. Nursing Journal CMU, 40(3), 50–61. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18920