อาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับเคมีบำบัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Keywords:
อาการเหนื่อยล้า, ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, เคมีบำบัด, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยล้าAbstract
บทคัดย่อ
อาการเหนื่อยล้าเป็นอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งอาจเกิดจากสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย หรือเกิดจากผลกระทบของโรคและวิธีการรักษา การวิจัยแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอาการเหนื่อยล้ากับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กิจกรรมทางกาย คุณภาพการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม ในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 จำนวน 111 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินอาการเหนื่อยล้าของไปเปอร์ แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอาการเหนื่อยล้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s productmoment correlation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. อาการเหนื่อยล้าโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (Xˉ = 3.80, S.D. = 1.40) และเมื่อแยกรายด้านพบว่าอาการเหนื่อยล้าอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน ยกเว้นด้านความคิดหรือเจตคติอยู่ในระดับปานกลาง
2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยล้า ได้แก่ กิจกรรมทางกาย คุณภาพการนอนหลับ และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (Xˉ = 30.85, S.D. = 7.31; Xˉ = 107.15, S.D. = 11.44; Xˉ = 33.06, S.D. =4.80) ส่วนภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับปกติ (Xˉ = 7.06, S.D. = 4.52)
3 อาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด มีความสัมพันธ์ทางลบกับกิจกรรมทางกาย คุณภาพการนอนหลับ และการสนับสนุนทางสังคม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (r = -0.443, r = -0.270) ส่วนความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05(r = -0.189) แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (r = 0.376)
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลในการวางแผน เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งลำ ไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำ บัด อีกทั้งยังสามารถนำผลการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำวิจัยต่อไป
คำสำคัญ: อาการเหนื่อยล้า ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เคมีบำบัด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยล้า
Abstract
Fatigue is the most common symptom in older patients with colorectal cancer receivingchemotherapy. This may be due to physical and mental condition of the patient or the impact ofthe disease and treatment. This descriptive correlational research aimed to describe the relationshipbetween factors related to fatigue, including physical activity, sleep quality, depression and the socialsupport in the elderly with colorectal cancer. Purposive sampling was used to recruit 111 patientswho met the criteria in Chiangrai Prachanukroh Hospital and Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalbetween August to December 2011. The instrument used in this study were fatigue scale, physicalactivity scale, quality of sleep scale, depression scale and social support questionnaire in olderpatients with colorectal cancer receiving chemotherapy and related factors were analyzed usingdescriptive statistics. The correlation between fatigue and related factors were analyzed using thePearson's product moment correlation.
The results of study
1. Fatigue was at a low level (Xˉ = 3.80, S.D. = 1.40). All dimensions of fatigue were low,except for the dimension of ideas or attitudes which was moderate.
2. Related factors including physical activity, quality of sleep, and social support in olderpatients with colorectal cancer receiving chemotherapy were at moderate levels (Xˉ = 30.85, S.D.= 7.31; Xˉ = 107.15, S.D. = 11.44; Xˉ = 33.06, S.D. = 4.80) but depression was at a normal level(Xˉ = 7.06, S.D. = 4.52).
3. Fatigue was negatively statistically correlated with physical activity and sleep quality at asignificance level of .01 (r = - 0.443, -0.270) and negatively statistically correlated with social supportat a significance level of 0.05 (r = -0.189). However, fatigue was positively statistically correlatedwith depression at a significant level of 0.01 (r = 0.376).
The results of this study provide baseline information for nurses to plan the appropriatenursing activities for older patients with colorectal cancer receiving chemotherapy and the resultscould also serve as the foundation for future research.
Key words: Fatigue, Older patients with Colorectal Cancer, Chemotherapy, Fatigue and RelatedFactor
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว