ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้สึกไม่แน่นอน ในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่

Authors

  • อภิญญา พจนารถ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทิพาพร วงศ์หงษ์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อัจฉรา สุคนธสรรพ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้, ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, Supportive- Educative Nursing System, Uncertainty, Newly Diagnosed Breast Cancer

Abstract

บทคัดย่อ
ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ ระยะที่1 และ ระยะที่ 2 ซึ่งมาตรวจรักษา แผนกผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปหญิง โรงพยาบาลลำปาง ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ โดยใช้แนวคิดระบบการพยาบาลของโอเร็ม (Orem, 2001)ประกอบด้วย การสอน การชี้แนะ การสนับสนุนและการสร้างสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้วัดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยก่อนและหลังให้การพยาบาล โดยใช้แบบวัดความรู้สึกไม่แน่นอนของมิเชล (Mishel, 1997)
ผลการวิจัย พบว่า
ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของกลุ่มทดลองหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ตํ่ากว่าก่อนได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ และตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ: การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

Abstract
Uncertainty in illness is a major factor affecting the quality of life among breast cancer patients.The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of supportive - educativenursing system on uncertainty in illness among newly diagnosed breast cancer patients. The samplewas newly diagnosed stage I and stage II of breast cancer patients at outpatient surgical clinic, andadmitted patients in the female surgical ward, at Lampang Hospital. Participants were recruited fromSeptember 2010 to September 2011. Thirty participants were divided into the experimental group(n=15) and the control group (n=15). The experimental group received the supportive - educativenursing system intervention, which consists of 6 sessions in 2 weeks with usual nursing care,while the control group received usual nursing care. The instruments consisted of the supportive- educative nursing system intervention plan developed from the nursing systems concept (Orem,2001) which includes teaching, guiding, supporting, and providing a developmental environment;the breast cancer handbook for patients with breast cancer for those receiving surgery that wasverified in content by 5 experts. Data collection instruments consisted of the demographic dataform and the Mishel Uncertainty in Illness Scale (Mishel, 1997) translated into Thai by the researcherand verified by English back translation by 3 bilingual experts. The back translated version had aCronbrach’s alpha coefficient of 0.80. Data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-squaretest, Fisher-Exact test, T-test and Analysis of Covariance.
The results of study
1. Uncertainty in illness for the experimental group was less after the intervention thanbefore the intervention. This change was significant at .05.
2. Uncertainty in illness in the experimental group was less than in the control group.This difference was significant at .05.The results of this study could be used in nursing practice in teaching, guiding, supporting,and providing a developmental environment to reduce feelings of uncertainty in illness; as well asfor baseline data for the development of research according to the supportive - educative nursingsystem among newly diagnosed cancer patients to reduce uncertainty in illness in the future.
Key words: Supportive- Educative Nursing System, Uncertainty, Newly Diagnosed Breast Cancer

Author Biography

อภิญญา พจนารถ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษาปริญญาโท

Downloads

How to Cite

พจนารถ อ., วงศ์หงษ์กุล ท., & สุคนธสรรพ์ อ. (2014). ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้สึกไม่แน่นอน ในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่. Nursing Journal CMU, 40(3), 75–84. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18922