ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อจัดการกับอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร

Authors

  • ภาวดี วิมลพันธุ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • พรทิวา คำวรรณ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Keywords:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ระดับความปวด, ผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร, Cancer Pain Management Guidelines, Pain Levels, Patient with Gastrointestinal Tract Cancer

Abstract

บทคัดย่อ
ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักได้รับความทุกข์ทรมาณจากความปวด หากไม่ได้รับการจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพ อาจมีผลต่อการรักษาและคุณภาพชีวิต การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลต่อระดับความปวดของผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อจัดการกับอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็ง ของภาวดี วิมลพันธุ์, พรทิวา คำวรรณ, นลินี แข็งสาริกิจ,และ กัตติกา พิงคะสัน (2552). ซึ่งปรับปรุงใหม่โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติของศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื้อหาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ประกอบ ด้วย การประเมินอาการปวด การบรรเทาปวด การดูแลด้านจิตสังคมและการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ ทั้งนี้ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) มาตรวัดระดับความปวดแบบตัวเลข 1-10 เซนติเมตร หรือมาตรวัดแบบรูปภาพใบหน้า 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าที (Dependent t-testand independent t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
คะแนนความปวดของผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารหลังใช้แนวปฏิบัติทาง การพยาบาลลดลงจากก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(Xˉ = 2.27 และ Xˉ = 3.77, t = 5.55, p<0.0001) นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับคะแนนความปวดภายหลังการใช้แนวปฏิบัติของกลุ่มทดลองตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Xˉ =2.27 และXˉ = 0.30, t = 3.17, p<0.01) โดยที่ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลอยู่ในระดับมาก (Xˉ =3.91)ดังนั้นแนวปฏิบัติทางการพยาบาลนี้จึงเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการกับอาการปวดให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ต่อไป
คำสำคัญ: แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ระดับความปวด ผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร

Abstract
The majority of cancer patients are suffering from pain and the ineffective pain management inferwith their treatment and quality of life. This quasi–experimental study aimed to determine the effectsof cancer pain management guidelines on pain levels among patients with gastrointestinal cancer.The samples were the patients with gastrointestinal cancer in Chiang Rai hospital. Sixty subjectswho met the selection criteria were included in this study. The experimental group (n=30) receivedcancer pain management guidelines while the control group (n=30) received conventional nursingcare. Data was collected retrospectively. The research instruments were cancer pain managementguidelines, Numerical Rating Scale and Wong’s Face Pain Scale, and patient satisfaction scale. Theguidelines were developed by Pawadee Wimolphan et.al. (2009). A development methodology wasbased on the Joanna Briggs Institute, Thailand’s conceptual framework. The principles of cancerpain management guidelines were pain assessment, pain management, psychosocial care, andhealth education. All instruments were content validated and tested for reliability; content validitywas 1 and Cronbach’s alpha coefficient was .84. Dependent and independent t-tests were usedfor data analysis.
The results of study
The results revealed that the experimental group had statistically significantly lower pain scoresafter receiving than before receiving cancer pain management (Xˉ =2.27 and Xˉ = 3.77, t = 5.55,p<0.0001). Additionally, the experimental group had statistically significantly lower pain score thanthat of the control group (Xˉ =2.27 and Xˉ = 3.30, t = 3.17, p<0.01). Furthermore, patient satisfactionwas reported as good. (Xˉ =3.91).The study indicated that cancer pain management guidelines can be used in patients withgastrointestinal tract cancer in Chiang Rai hospital, in order to relieve cancer pain.
Key words: Cancer Pain Management Guidelines, Pain Levels, Patient with Gastrointestinal TractCancer

Downloads

How to Cite

วิมลพันธุ์ ภ., & คำวรรณ พ. (2014). ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อจัดการกับอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร. Nursing Journal CMU, 40(3), 85–96. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18923