การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน

Authors

  • สุสัณหา ยิ้มแย้ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา, มารดาที่ทำงานนอกบ้าน, Breastfeeding Promotion, Mothers Employed Outside The Home

Abstract

บทคัดย่อ
การเพิ่มของสัดส่วนสตรีในตลาดแรงงานมักถูกอ้างว่าทำให้อัตรา และระยะเวลาของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาลดลง การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบทบาทผู้ผลิตในการทำงาน และบทบาทด้านอนามัยเจริญพันธุ์ โดยทั่วไปสตรีมีสิทธิในการเลือกการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาซึ่งเป็นสารอาหารที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับทารก ขณะเดียวกันสตรียังต้องทำงานหารายได้ ในการผสมผสานบทบาทในครอบครัวที่ขัดแย้งกันนี้ สตรีต้องการสนับสนุนและการช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องท้าทายที่ต้องพัฒนาวิธีการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ทั้งการกำหนดนโยบายสุขภาพ บริการสุขภาพ รวมทั้งการสนับสนุนจากครอบครัวและที่ทำงาน
บทความนี้ได้ทบทวนวิธีการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา สำหรับมารดาที่ทำงานนอกบ้าน โดยอภิปรายวิธีการที่สตรีจะผสมผสานการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดากับการทำงาน ความสำคัญของการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หลังคลอด และตัวอย่างขั้นตอนในการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาสำหรับมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา จากการศึกษาของผู้เขียนและคณะ โดยศึกษาเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและสนับสนุนจากผู้ให้บริการสุขภาพ ที่พบว่าโดยทั่วไปแล้วการให้คำแนะนำในสองสามวันแรกในโรงพยาบาลเท่านั้นไม่เพียงพอควรมีการติดตามเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ในสัปดาห์ต่อ ๆ มา โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาคัดตึงเต้านม และการรับรู้ว่านํ้านมมารดาไม่เพียงพอ ใน 2-4 สัปดาห์ก่อนกลับไปทำงาน ควรนัดมารดามาฝึกการบีบและเก็บนํ้านมมารดา รวมทั้งการฝึกให้ผู้ที่จะดูแลทารกป้อนนมมารดาด้วยถ้วยแก้ว ขณะมารดากลับไปทำงาน และควรติดตามปัญหาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเมื่อมารดากลับทำงาน
คำสำคัญ: การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา มารดาที่ทำงานนอกบ้าน

Abstract
The Increased participation of women in the labor force is frequently attributedfor the low rate and duration of breastfeeding. Rapid development and social changemay create conflict between women’s productive and reproductive roles. Women havethe right to offer optimum nutrition to their babies through breastfeeding and they alsoare entitled to seek gainful employment. To combine these work-family roles, women need ample help and support. This presents a challenge in developing a breastfeedingpromotion intervention that includes health policy formulation, health care services as well asfamily and workplace support.
This chapter reviews interventions that promote breastfeeding for mothers employedoutside the home. It discusses how women combine breastfeeding with employment,the importance of ongoing breastfeeding support following delivery, and an exampleof successful breastfeeding promotion steps for mothers working full-time outsidethe home based on our study. The study focused on breastfeeding educationand support conducted by health care providers. It reveals that breastfeeding educationonly during the first few days in hospital was insufficient. During the following weeks,most mothers needed continuing support for breast engorgement and perceived breastmilk insufficiency. At two-four weeks before resuming employment, mothers shouldpractice milk expression, storage of expressed breast milk, while child care giversshould practice cup feeding. Furthermore, follow-up with mothers after resumingemployment is necessary for providing support to resolve breastfeeding problems.
Key words: Breastfeeding Promotion, Mothers Employed Outside The Home

Downloads

How to Cite

ยิ้มแย้ม ส. (2014). การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน. Nursing Journal CMU, 40(3), 129–137. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18927