พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง

Authors

  • สุวรรณา บุญยะลีพรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เจียมจิต แสงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารีวรรณ กลั่นกลิ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลัดดา พลพุทธา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ยุทธชัย ไชยสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • วีระวรรณ์ คุ้มกลาง โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
  • อมรรัตน์ คำชัย โรงพยาบาลนาหว้า จังหวัดนครพนม
  • อุดมรัตน์ นิยมนา โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

Keywords:

พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์, วัยแรงงาน, การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี, Health Behaviors, Working – Age Patients with HIV/AIDS, Antiretroviral Therapy

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งจำนวน 138 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ของสุวรรณา บุญยะลีพรรณ(2550) พัฒนาจากกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับดี (x_= 3.25, S.D. = 0.30)
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมาก 2 ลำดับได้แก่1) พฤติกรรมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพขณะได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี (x_= 3.58, S.D. = 0.27)และ 2) พฤติกรรมสุขภาพด้านการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ ( x_= 3.56, S.D. = 0.38) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี 4 ลำดับ ได้แก่ 1) พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด(x_= 3.25, S.D. = 0.51) 2) พฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ (x_= 3.22, S.D. = 0.49) 3) พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย (x_= 2.96, S.D. = 0.54) และ 4) พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (x_= 2.96, S.D. = 0.54) ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญในการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพทั้งหกด้านอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกายด้านโภชนาการ ด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพเรื่องการรับประทานยาให้ตรงเวลา รวมทั้งการลดพฤติกรรมเสี่ยงและเพิ่มการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อฉวยโอกาสและการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี
คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ วัยแรงงาน การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี

Abstract
The purpose of this descriptive research was to study the health behaviors of working- agepatients with HIV/AIDS receiving antiretroviral (ARV) therapy. The sample group consisted of 138 patients with HIV/AIDS receiving antiretroviral (ARV) therapy more than 6 months at a tertiarycare hospital in August, 2012. The research tool included the demographic data and the healthbehaviors of persons living with HIV/AIDS receiving antiretroviral therapy questionnaire was developedby Suwanna Boonyaleepun (2007) based on Pender’s Health Promotion Model and tested forreliability using Cronbach’s alpha coefficient yielding of 0.90. Data analysis used descriptive statisticsincluding frequency, percentage, mean and standard deviation.
The results of study
1. Overall health behavior score among working-age patients with HIV/AIDS receivingantiretroviral therapy was at good level. (x_= 3.25, S.D. = 0.30).
2. Health behavior level in each aspect: Two aspects of the health behavior which were atthe best level included health behavior of health responsibility for taking ARV regimens x_= 3.58,S.D. = 0.27) and health behavior of spiritual growth (x_= 3.56, S.D. = 0.38). The four aspectsscore of health behavior were at good level. According to score, it was ranked as follows: 1) healthbehavior of stress management (x_= 3.25, S.D. = 0.51), 2) health behavior of nutrition (x_= 3.22,S.D. = 0.49), 3) health behavior of physical activities (x_= 2.96, S.D. = 0.54), and 4) healthbehavior of interpersonal relations (x_= 2.96, S.D. = 0.54).
The finding from the study suggests that six aspects of health behaviors should becontinuously maintained by healthcare providers, especially in the promoting of some aspectssuch as physical activities, nutrition, interpersonal relations and health responsibility for takingARV regimens, reducing risk behavior and increasing the self protection from opportunisticinfection and prevention on transmission of HIV infection.
Key words: Health Behaviors, Working – Age Patients with HIV/AIDS, Antiretroviral Therapy

Downloads

How to Cite

บุญยะลีพรรณ ส., แสงสุวรรณ เ., พุทธาพิทักษ์ผล ส., กลั่นกลิ่น อ., นันท์ศุภวัฒน์ ว., ศรีจักรโคตร จ., พลพุทธา ล., ไชยสิทธิ์ ย., คุ้มกลาง ว., คำชัย อ., & นิยมนา อ. (2014). พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. Nursing Journal CMU, 40(1), 1–13. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19036