ผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินต่อระดับไขมันและนํ้าตาลในเลือดในสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

Authors

  • พัชราภรณ์ อารีย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อุมาพร ปุญญโสพรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิจิตร ศรีสุพรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สถิตย์ วงศ์สุรประกิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Keywords:

รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน, ไขมันในเลือด, นํ้าตาลในเลือด, สตรีภาวะไขมันในเลือดสูง, Eating Behavior Modification Model, Serum Lipid, Blood Glucose, Women, Hyperlipidemia

Abstract

บทคัดย่อ
การบริโภคที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคเรื้อรังหลายโรคกล่าวคือโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และอ้วน การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินต่อระดับไขมันและนํ้าตาลในเลือดในสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 30 ราย กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมโครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่ใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นแนวคิดพื้นฐานเป็นเวลา 6 เดือน วิเคราะห์หาระดับไขมันในเลือดด้วยวิธีการทางเอนไซม์และนํ้าตาลในเลือดด้วยวิธีออโตแมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัย พบว่า
ระดับโคเลสเตอรอล และแอลดีแอล-โคเลสเตอรอลในเลือดระยะหลังเข้าร่วมโครงการตามรูปแบบที่เป็นข้อตกลงร่วมกันเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการกินเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยเป็นเวลา 6 เดือนมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากระยะก่อนเข้าร่วมโครงการ ระดับเอชดีแอล-โคเลสเตอรอลระยะหลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากระยะก่อนเข้าร่วมโครงการ สำหรับนํ้าหนักตัวดัชนีมวลกาย ไขมันสะสมในร่างกาย ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และระดับกลูโคสในเลือดระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการไม่แตกต่างกันจากผลการวิจัยครั้งนี้ได้ให้รูปแบบที่ประยุกต์แนวคิดและกระบวนการของการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นแนวคิดพื้นฐานในการส่งเสริมพฤติกรรมการกินเพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือดในสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
คำสำคัญ: รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ไขมันในเลือด นํ้าตาลในเลือด สตรีภาวะไขมันในเลือดสูง

Abstract
Unhealthy eating is an important risk factor for several chronic diseases namely diabetesmellitus, hypertension, hyperlipidemia and obesity. The objectives of this Quasi-experimentalresearch, one group pretest and posttest design, were to study the effects of the eatingbehavior modification model on serum lipid and blood glucose levels in hyperlipidemic women.Participants in the study were 30 hyperlipidemic women living in Chiang Mai Municipal area.The subjects were participated in the eating behavior modification model based on empowermentfor 6 months. Serum lipids were analyzed by enzymatic method, and blood sugar was analyzedby automated method. Data were analyzed using descriptive statistics and dependent t-test.
The results of study
revealed that after 6 months of active participation in program related to promote eatingbehavior toward nutritive value and safety, Total cholesterol and LDL-cholesterol were significantlylower than those at before participation the program the beginning (p<0.05). HDL-Cholesterolwere significantly higher than those at before participation the program (p<0.05). There were nosignificant differences of body weight, body mass index, body fat, serum triglyceride level andblood glucose level among women before and after participation the program. The result of thisstudy provides the model, based on application of the empowerment concept and process, topromote eating behavior for controlling of serum lipid in hyperlipidemic women.
Key words: Eating Behavior Modification Model, Serum Lipid, Blood Glucose, Women,Hyperlipidemia

Downloads

How to Cite

อารีย์ พ., ปุญญโสพรรณ อ., ศรีสุพรรณ ว., & วงศ์สุรประกิต ส. (2014). ผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินต่อระดับไขมันและนํ้าตาลในเลือดในสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. Nursing Journal CMU, 40(1), 14–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19037