ความพึงพอใจและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในกระบวนวิชาภาวะผู้นำ และการจัดการทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Keywords:
ความพึงพอใจ, ผลลัพธ์, การเรียนการสอนแบบผสมผสานAbstract
บทคัดย่อ
กระบวนวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล มีลักษณะเนื้อหาซึ่งค่อนข้างเป็นนามธรรมและยากสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย การนำการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ซึ่งเป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้า(face-to-face) กับการสอนผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเลิร์นนิ่ง (E-learning) มาใช้จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ผลลัพธ์ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนแบบผสมผสานในวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เรียน ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2555 ที่ลงเรียนวิชาดังกล่าวจำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจได้ค่าสัมประสิทธ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามผลลัพธ์เท่ากับ0.91 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในกระบวนวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาลทุกด้านอยู่ในระดับมากได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผล
2. นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในเชิงปริมาณและคุณภาพต่อผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์กับนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในด้านบวก เช่น มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง และ เพิ่มทักษะในการเรียนรู้ เป็นต้น
3. นักศึกษาเสนอแนะถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งการบรรยายในเรื่องสถานที่ การใช้แฟ้มสะสมการสะท้อนคิดในเรื่องเวลาและปริมาณชิ้นงาน การใช้ อีเลิร์นนิ่งในเรื่องระบบและความเร็วของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและเป็นแนวทางในการที่จะพัฒนากระบวนวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาลให้เหมาะสมกับนักศึกษาต่อไป
คำสำคัญ: ความพึงพอใจ ผลลัพธ์ การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
Abstract
Nursing leadership and management courses can be abstract and difficult for students who donot have work experience to learn and understand. Implementation of Blended Learning, a system ofteaching that integrates the learning encounter (face-to-face) and teaching through electronic mediaor E-learning has been resulted in a student learning effectively. The purpose of this study was tostudy satisfaction, outcomes, problems, barriers, and suggestions among students who experiencedblended learning in a nursing leadership and management course. The study population consistedof 99 students who were registered in the course for the 1stsemester of academic year 2012. Datawere collected by questionnaires which were tested for content validity by 3 experts. The reliabilityof the questionnaires had a Cronbach’s alpha of .92 for variables related to satisfaction and 0.91for variables related to outcomes. Data were analyzed by descriptive statistic.
The results of study
1. Most students have highly satisfied with the following elements in the course: purpose,content, teaching and learning activities, and evaluation methods.
2. Most students have positive opinion in both quantity and quality towards outcomes ofthe Blended Learning in nursing leadership and management course such as a variety of learningstyles, apply knowledge by themselves, and promoting learning skills.
3. Students noted that the facility was a barrier for the lecture, lack of time and amount ofwork were barriers to the portfolio, and the computer system and network speed were barriers toe-learning.
The results show that Blended Learning should be applied to other courses to providestudents with higher satisfaction and positive learning outcomes.
Key words: Satisfaction, Outcome, Blended Learning
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว